7 เรื่องต้องรู้ก่อนปั่นจักรยานไปทำงาน

บทความนี้สนับสนุนโดย คอนโด FYNN ASOKE

ในเมืองที่การจราจรแออัดตลอดเวลาอย่างกรุงเทพมหานคร บางครั้งตัวเลือกการเดินทางที่ไม่ใช่รถยนต์อาจจะทำให้เราไปถึงที่หมายได้เร็วกว่า

การปั่นจักรยานไปทำงานเป็นทางเลือกหนึ่งที่ DT เชื่อว่าหลายๆ คนพิจารณาอยู่แต่อาจจะยังลังเลและไม่มั่นใจว่ามันจะเวิร์กหรือเปล่า จะปลอดภัยแค่ไหน หรือจะเริ่มยังไงดี

จากประสบการณ์ช่วงที่ผมยังเรียนอยู่กลางเมือง ทุกครั้งที่จะเดินทางเข้ามหาวิทยาลัย ระยะ 3 กิโลเมตร จำเป็นต้องอาศัยการเดินทางด้วยรถประจำทาง ซึ่งมาชั่วโมงละคัน ขึ้นแล้วก็ต้องวัดใจว่าสี่แยกหน้าจะติดหรือไม่ จนถึงจุดที่ทนรถติดไม่ไหว เสียเวลาชีวิตมาก ตัดสินใจเดินก็ไกลเกินไป จนมาถึงจุดเปลี่ยนคือการเลือกปั่นจักรยานไปมหาวิทยาลัยแทน

จากประสบการณ์ที่ปั่นกลางกรุงเทพมหานครสมัยเรียนมาตลอด 2 ปี ก็เลยลองสรุปมาเป็น 7 เรื่องต้องที่ควรรู้สำหรับการปั่นจักรยานไปทำงานครับ


1. ประเภทจักรยานที่เหมาะกับการปั่นในเมือง

เป็นอุปกรณ์แรกสุดที่ต้องมี เราสามารถใช้จักรยานชนิดใดก็ได้ปั่นไปทำงาน แต่จักรยานที่เหมาะสมนั้นจะช่วยอำนวยความสะดวกทั้งยามปั่น และยามจอด

1.1 เสือหมอบ

เสือหมอบโดยพื้นฐานแล้วเป็นจักรยานแข่งขัน ดูหล่อ เร็วที่สุดด้วยรูปทรงที่ปราดเปรียว พร้อมทำความเร็ว พร้อมเปลี่ยนถนนกรุงเทพให้เป็นสนามแข่ง เป็นจักรยานที่ช่วยประหยัดพลังงานในการปั่นมากที่สุด เนื่องจากหน้ายางที่แคบ รูปทรงที่ออกแบบมาให้ทำความเร็วได้ดีโดยใช้พลังงานที่น้อย น้ำหนักเบา จะยกไปไหนมาไหนก็สะดวก

แต่ด้วยหน้ายางที่แคบ รวมถึงการควบคุมรถที่ยากกว่าจักรยานประเภทอื่น ทำให้จักรยานเสือหมอบจำเป็นต้องอาศัยทักษะการปั่นและประเมินสถานการณ์ที่สูงกว่า ซึ่งมือใหม่นั้นมีโอกาสที่จะควบคุมไม่อยู่ ลื่นล้ม เป็นต้น ประกอบกับถนนกรุงเทพที่ไม่ได้ราบเรียบ อาจกระแทกมือ ก้น เท้าให้ชาหรือเจ็บได้ง่าย รวมถึงลักษณะการวางมือเพื่อกำก้านเบรกของเสือหมอบที่ไม่ได้ให้กำลังการเบรกที่มากนัก ทำให้มักเกิดอาการเบรกไม่อยู่จนไหลไปชนรถด้านหน้า หรือเบรกมากเกินไปจนล้อล็อค ไม่สามารถควบคุมจักรยานได้นั่นเอง

เสือหมอบจะเหมาะสำหรับนักปั่นที่มีทักษะในการควบคุมรถ คุ้นเคยกับสภาพถนนระดับหนึ่งแล้ว

1.2 เสือภูเขา

จักรยานเสือภูเขาเป็นจักรยานที่ใช้งานได้หลากหลายที่สุด เพราะปั่นและทรงตัวได้ง่ายเนื่องจากท่าปั่นจะอยู่ในแนวเกือบตั้งตรง ใช้แฮนด์ตรงและกว้างช่วยให้การควบคุมรถได้สะดวกจากที่ออกแบบมาให้ใช้ปั่นในทางวิบาก หน้ายางที่กว้างและโช้คด้านหน้าช่วยสลายแรงกระแทกที่มายังร่างกาย ทำให้ร่างกายไม่ต้องรับภาระการกระแทกที่มากนักและเบรกประสิทธิภาพดีกว่าจักรยานเสือหมอบ ที่สำคัญเสือภูเขามักมีราคาถูกกว่าเสือหมอบในทุกระดับราคา

อย่างไรก็ดี เสือภูเขาไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อความเร็ว มีน้ำหนักมากและเทอะทะ ยกขน ไม่สะดวก และอาจจะแทรกตัวผ่านการจราจรลำบากกว่าจักรยานอื่นๆ ถ้าเส้นทางที่ใช้เป็นประจำต้องผ่านทางขรุขระเยอะเสือภูเขาก็เป็นตัวเลือกที่ดีครับ

1.3 จักรยานไฮบริด

เป็นจักรยานที่ดึงเอาข้อดีของเสือหมอบและเสือภูเขามารวมกัน ใช้ยางขนาดใหญ่กว่าเสือหมอบแต่เล็กกว่าเสือภูเขา ซึ่งช่วยให้ซับแรงสะเทือนและเกาถนนได้ดี และใช้แฮนด์แบบตรงเพื่อให้คุมรถได้สะดวกกว่าเสือหมอบด้วย นั่งได้สบายไม่ต้องก้มมาก โดยรวมแล้วเป็นจักรยานที่เหมาะกับการใช้งานในเมืองมาก

1.4 จักรยานพับ

เป็นจักรยานขนาดเล็กที่เหมาะสำหรับการพับเก็บในพื้นที่จำกัด มักมีขนาดล้อที่เล็ก มีกลไกการพับเก็บที่เพิ่มขึ้นมาจากจักรยานปกติ

แต่ถึงจะเล็กกะทัดรัดก็มีข้อด้อยนิดหน่อย เพราะขนาดวงล้อที่เล็กทำให้ต้องใช้แรงมากขึ้นในการปั่น รวมถึงศูนย์ถ่วงขณะปั่นที่จะถ่ายไปด้านหลังมากกว่า ทำให้เวลาปั่นขึ้นทางชันอาจเกิดปัญหาล้อหน้ายกได้ ต้องถ่ายน้ำหนักไปด้านหน้ากดเอาไว้ด้วย

ข้อได้เปรียบสำคัญของจักรยานพับคือการที่สามารถนำขึ้นไปบนระบบขนส่งสาธารณะได้ง่าย ไม่รบกวนผู้โดยสารท่านอื่นมากนัก สามารถยกขึ้นไปเก็บไว้บนที่ทำงาน หรือยกข้ามสะพานลอยได้ง่ายจากน้ำหนักตัวที่ไม่มาก

เหมาะสำหรับนักปั่นที่จำเป็นต้องเดินทางร่วมกับระบบขนส่งสาธารณะอื่นๆ หรือมีพื้นที่เก็บจักรยานที่จำกัด


2. เซ็ตจักรยานยังไงให้ปั่นในเมืองได้สะดวกและปลอดภัย?

การปั่นในเมืองเราจะเน้นความปลอดภัย ความมั่นใจในการควบคุมจักรยานมากกว่าการทำความเร็วเนื่องจากอุปสรรคในการปั่นนั้นมีมากกว่าเวลาที่เราปั่นออกกำลังกายธรรมดาๆ ทริกเล็กๆ น้อยๆ พวกนี้น่าจะช่วยให้ปั่นได้มั่นใจและปลอดภัยขึ้นครับ

2.1 บันได

นักปั่นมีตัวเลือกบันไดให้ใช้สองแบบคือบันไดแบบใส่คลีท (ต้องใช้รองเท้าปั่นที่ยึดติดกับบันได) หรือบันไดแบบ flat pedal ที่ใส่รองเท้าอะไรปั่นก็ได้ ข้อดีของบันไดคลีทคือช่วยให้เราส่งถ่ายแรงได้เต็มที่ในทุกจังหวะการปั่นแต่ถ้าต้องถอดเข้าถอดออกบ่อยๆ เช่นเวลาต้องจอดติดไฟแดงก็อาจจะเผลือล้มเป็นอันตรายได้ โดยเฉพาะคนที่ไม่คุ้นกับการใส่รองเท้าคลีท

บันไดแบบ Flat pedal

ถ้าไม่ได้เน้นทำความเร็วแบบ rush hour มากนักใช้บันไดแบบ flat ธรรมดาจะสะดวกกว่า ไม่ต้องกังวลเรื่องลืมถอดคลีทเวลาเผลอ และยังช่วยให้การเดินจูงจักรยานทำได้ง่ายขึ้น รวมถึงไม่จำเป็นต้องพกรองเท้าหลายคู่ไปทำงาน

2.2 ความสูงหลักอาน

เช็คระยะความสูงหลักอานให้เหมาะสม

ความสูงของหลักอานส่งผลต่อท่าทางในการปั่นและการออกแรง ซึ่งบางครั้งท่าที่ออกแรงได้มากที่สุดอาจส่งผลให้ปลายเท้าเราแตะพื้นไม่ได้ตอนจอดจักรยาน ทำให้เราทรงตัวได้ลำบาก เวลาปั่นในเมืองอาจจะดีกว่าถ้าเรารลดความสูงหลักอานลงนิดหน่อย ถึงจะออกแรงได้ไม่เต็มที่แต่ก็ช่วยให้คุมและทรงตัวได้ง่ายกว่า ปลอดภัยกว่าด้วย

2.3 เกียร์จักรยาน

สำหรับการเลือกใช้เกียร์จักรยานนั้นสัมพันธ์กับเส้นทางที่ใช้ปั่นด้วย หากเส้นทางที่ผ่านมีสะพานหรือทางชัน การมีเกียร์เผื่อไว้จะช่วยผ่อนแรงได้มาก แต่หากเส้นทางราบเรียบสนิท เกียร์อาจเป็นส่วนเกินที่ทำให้น้ำหนักรถมากขึ้น และต้องการความดูแลมากกว่าชิ้นส่วนอื่นๆ เนื่องจากมีกลไกที่เกี่ยวข้องเยอะนั่นเอง

ถ้าใช้จักรยานมีเกียร์ ถ้าเลือกเกียร์ได้ถูกก็จะทำให้ชีวิตสะดวกขึ้นครับ เช่นอย่าใช้เกียร์หน้าและหลังที่ทำให้โซ่เยื้องมากๆ เพราะเวลาเจอหลุมบ่อจะทำให้โซ่ตกได้ง่าย ทริกอีกอย่างคือ ใช้จานหน้าใบใหญ่คู่กับเฟืองหลังใบใหญ่ เพื่อให้ได้อัตราทดที่พอดี การใช้จานหน้าใหญ่จะช่วยให้โซ่คลุมใบจานหน้าที่อาจจะเข้ามาทิ่มแทงเราได้เวลาเกิดอุบัติเหตุเป็นต้น


3. อุปกรณ์ติดตัวระหว่างปั่น

ในปัจจุบันอุปกรณ์ติดตัวระหว่างปั่นมีตัวเลือกมากมาย หาซื้อไว้ใช้ได้ไม่ยาก แต่การที่จะพกอุปกรณ์ทั้งหมดติดตัวไว้ตลอดเวลาย่อมไม่ใช่เรื่องที่สนุกนัก นอกเหนือจากน้ำหนักที่จะต้องแบกรับมากขึ้น ยังมีความเสี่ยงต่อการถูกขโมยมากขึ้นเช่นกัน ดังนั้นสิ่งที่ยากกว่าการเลือกซื้ออุปกรณ์คือการตัดสินใจเลือกอุปกรณ์ที่ “จำเป็น” ต้องพกไว้จริงๆ นั่นเอง

3.1 หมวกกันน็อกจักรยาน

แนะนำว่าควรใส่ทุกครั้งที่ออกปั่น เพราะเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันศีรษะจากอันตราย การเลือกหมวกจักรยานควรเลือกหมวกที่มีน้ำหนักเบา ระบายความร้อนได้ดี เพราะประเทศไทยเป็นเมืองร้อน หากเลือกหมวกปิดทึบทำให้ความร้อนสะสมก็จะอึดอัดและเหงื่อออกเยอะจนมีกลิ่น หลีกเลี่ยงหมวกของปลอมที่ภายนอกดูสวย แต่ป้องกันศีรษะของเราไม่ได้

การใส่หมวกจักรยานทุกครั้งอย่าลืมรัดสายรัดใต้คางให้กระชับ เพราะหากเกิดการล้มจริงๆ แล้วไม่ได้รัดสายใต้คางไว้ หมวกอาจจะหลุดออกจากศีรษะ ก่อนที่ศีรษะจะกระแทกได้

3.2 ไฟหน้าและไฟท้าย

จักรยานเป็นยานพาหนะที่ไม่ได้เร็วมากนักเมื่อเทียบกับรถยนต์ ดังนั้นในสายตาของรถยนต์ที่แล่นอยู่อาจรู้สึกว่าจักรยานอยู่นิ่งๆ และมีระยะให้คนขับตัดสินใจได้น้อยกว่าเมื่อเทียบกับยานพาหนะอื่นที่ความเร็วสูงกว่า และมองได้ยากกว่าหากรถยนต์นั้นติดฟิล์มทึบ ดังนั้นการทำตัวให้โดดเด่นด้วยการติดไฟด้านหน้า (ไฟสีขาว) และด้านหลัง (ไฟสีแดง) โดยเฉพาะเวลากลางคืนเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อความปลอดภัย

ไฟหน้าควรจะเป็นไฟสีขาว

เลือกไฟที่ความเข้มแสงสูงเพื่อให้เห็นได้จากระยะไกล แต่สำหรับการปั่นเป็นกลุ่มหลายคน คนที่อยู่กลางขบวนควรกดไฟลงต่ำลงเล็กน้อย หรือลดความสว่างลงเล็กน้อย รวมถึงไม่เปิดไฟกระพริบ เพราะสร้างภาระทางสายตาให้กับคนที่ปั่นตาม แต่ถ้าปั่นอยู่ท้ายขบวนก็ควรเปิดไฟสว่างกระพริบเพื่อให้รถด้านหลังมองเห็นอย่างชัดเจน

ปัจจุบันไฟจักรยานมีให้เลือกทั้งแบบชาร์จไฟด้วย USB หรือใช้แบตเตอรี่ทั่วไป ซึ่งการชาร์จไฟ USB นั้นสะดวกและประหยัด แต่มีข้อเสียคือหากไฟดับกลางทางจะไม่สามารถหาซื้อแบตเตอรี่เปลี่ยนได้

3.3 ตัวล็อคจักรยาน

จำเป็นถ้าเราไม่มีที่จอดที่ปลอดภัย ในท้องตลาดนั้นมีตัวล็อคหลากหลายรูปแบบไล่ระดับราคาตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักพันบาท

ตัวล็อคแบบ U-Lock

ตัวล็อคที่มีราคาถูกที่สุดจะเป็นตัวล็อคแบบรหัส 4 ตัว สายล็อคทำด้วยสลิง ซึ่งเป็นตัวล็อคที่ความปลอดภัยต่ำสุดเช่นกัน โดยขโมยสามารถตัดสลิงได้ด้วยคีมเล็กๆ ในเวลาไม่กี่วินาที

จากประสบการณ์ที่เคยใช้งานมา แนะนำตัวล็อคสามรูปแบบดังนี้ครับ

  • ตัวล็อคแบบโซ่และแม่กุญแจ: บางยี่ห้อจะระบุความแข็งแรงของโซ่รวมถึงแม่กุญแจเป็นตัวเลข ซึ่งตัวเลขยิ่งสูงยิ่งทนต่อการตัดมากขึ้น พยายามเลือกซื้อโซ่ที่ระบุความแข็งแรงสูงที่สุดที่ซื้อได้ รวมถึงเลือกแบบที่มียางหรือผ้าห่อหุ้มตัวโซ่อีกชั้นไม่ให้ตัวโซ่เสียดสีกับเฟรมได้โดยตรง
  • ตัวล็อคแบบยูล็อค (U-Lock) เป็นตัวล็อครูปตัวยู ทำจากโลหะทั้งแท่ง ซึ่งยากต่อการตัด และพกพาได้สะดวก ข้อเสียคือความสามารถในการใช้งานจำกัด อาจไม่สามารถล็อคจักรยานกับสิ่งของรูปทรงแปลกๆ ได้
  • ตัวล็อคดิสเบรก เป็นตัวล็อค “เสริม” ที่ควรใช้ร่วมกับตัวล็อคอื่นๆ โดยสามารถร้อยไว้กับรูดิสเบรก เพื่อขัดไว้ทำให้ไม่สามารถปั่นได้ ตัวล็อคดิสเบรกรุ่นใหม่ๆ มีแจ้งสัญญาณกันขโมยเมื่อถูกกระทบได้ด้วย

เวลาใช้งาน อย่าล็อคกับชิ้นส่วนที่สามารถถูกถอดได้ง่ายๆ เช่น ล้อหน้า, ล้อหลัง, หลักอาน ควรล็อคโดยการร้อยทุกอย่างเข้ากับเฟรม และยึดกับวัตถุที่เคลื่อนที่ไม่ได้

เทคนิคเพิ่มเติม ก่อนจะล็อคจักรยานควรเปลี่ยนใช้เกียร์ที่จานหน้าใหญ่สุด จานหลังเล็กสุด (เกียร์หนักสุด ปั่นไม่ออก) หรือจานหน้าเล็กสุด จานหลังใหญ่สุด (เกียร์เบาสุด ปั่นไม่ไป) เพื่อเพิ่มอุปสรรคในการขโมย


4. ศึกษาเส้นทางก่อนเริ่มปั่น

ทำการบ้านเช็คเส้นทางก่อนปั่นจะช่วยให้เราเดินทางได้สะดวก เพราะบางครั้งเส้นทางที่ไกลกว่าอาจทำให้เราปลอดภัยหรือไปได้เร็วกว่าเส้นทางปกติที่สั้นกว่า

  • ศึกษาเส้นทางลัด: จักรยานนั้นมีข้อได้เปรียบคือสามารถไปในเส้นทางที่รถยนต์ไม่สามารถไปได้ สามารถเลี่ยงรถติดได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามควรหลีกเลี่ยงซอยเปลี่ยว หรือมืดเกินไป
  • ใช้แอพ Google Maps ในการเซตเส้นทางให้เหมาะกับการปั่น
  • ที่จอดรถจักรยานในห้าง: ส่วนใหญ่อยู่บริเวณเดียวกับที่จอดจักรยานยนต์ และมักมีกล้องวงจรปิด และมียามช่วยดูให้ด้วย และไม่ค่อยคิดค่าจอดจักรยาน อย่างไรก็ตามหลายห้างที่จอดจักรยานมักไม่ได้อยู่ชั้นหนึ่ง ดังนั้นอาจต้องเตรียมใจ เตรียมแรงสำหรับการปั่นขึ้นลานจอดรถด้วยครับ

เส้นทางรถยนต์

เวลาเดินทางด้วยจักรยานในเมืองไปจุดหมายเดียวกัน จักรยานจะสะดวกตรงที่มักตัดเส้นทางตรงได้เลยไม่ต้องอ้อมเหมือนรถยนต์ ช่วยให้หลบช่วงจราจรติดขัดได้สะดวก แต่ทั้งนี้ก็ควรวางแผนการเดินทางล่วงหน้าก่อนด้วย


5. สัญญาณมือ

จักรยานไม่มีสัญญาณไฟท้ายเหมือนกับรถยนต์ ดังนั้นการส่งสัญญาณบอกเพื่อนที่ตามท้าย หรือบอกรถยนต์ที่ตามมาด้วยมือจึงเป็นสิ่งสำคัญ

  • ลดความเร็ว: ให้ยื่นแขนขวาออกไปเสมอไหล่ และโบกมือขึ้นลงหลายครั้ง
  • หยุดรถ: ให้ยื่นแขนขวาออกไปเสมอไหล่ ยกแขนขวาท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบนและตั้งฝ่ามือขึ้น
  • ให้รถคันอื่นแซง: ให้ยื่นแขนขวาออกไปเสมอไหล่ และโบกมือไปข้างหน้าหลายครั้ง
  • เลี้ยวขวาหรือเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางขวา: ให้ยื่นแขนขวาไปนอกรถเสมอไหล่
  • เลี้ยวซ้ายหรือเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางซ้าย:ให้ยื่นแขนขวาออกไปนอกรถเสมอไหล่ และงอข้อมือชูขึ้นโบกไปทางซ้ายหลายครั้ง

6. กับดักบนถนน!

กรุงเทพไม่ใช่เมืองที่ถนนดีสักเท่าไร ออกจะไปทางอันตรายด้วยซ้ำ บนถนนมีกับดักหลายอย่างที่จะชวนให้เราล้มเสียหลัก ข้างล่างนี้คือลิสต์กับดักถนนที่เราควรระวังและวิธีหลบหลีกอย่างง่ายๆ ครับ

6.1 หลุมบนถนน

เป็นปัญหาคลาสสิกสำหรับถนนที่ใช้งานหนัก หากเห็นหลุมบนถนน ควรพยายามเลี่ยงโดยอาจเลือกปั่นบริเวณขอบหลุมแทน อย่าลืมให้สัญญาณแก่นักปั่นที่ตามข้างหลังด้วย เพราะนักปั่นที่ตามมามักถูกคนหน้าบังทำให้มองไม่เห็นด้านหน้า ถ้าเลี่ยงที่จะลงหลุมไม่ได้ ให้กันแฮนด์ให้แน่น ย่อแขนและยกก้นขึ้นเล็กน้อยเพื่อลดแรงกระแทก

6.2 ลูกระนาด

มีทั้งแบบชันมากและชันน้อย ถ้ามาเร็วอาจทำให้รถลอยได้ ดังนั้นหาเจอลูกระนาด ให้พยายามมองดูปลายทั้งสองข้าง ว่ามีช่วงที่ไม่มีลูกระนาดให้ผ่านหรือไม่ ถ้ามีก็เลือกผ่านทางนั้นแทน หรือถ้าไม่มีให้ชะลอข้ามลูกระนาด แม้ว่าถนนที่มีลูกระนาดจะทำให้รถยนต์วิ่งได้ไม่เร็ว แต่ก็ควรระมัดระวังรถที่ตามมาด้วย

6.3 ตะแกรงระบายน้ำ

ตะแกรงระบายน้ำกับล้อจักรยานเป็นอะไรที่พอดีกันเป็นอย่างยิ่ง เราเรื่องเล่าที่คนปั่นล้อตกร่องตะแกรงเป็นประจำ ตะแกรงในกรุงเทพมีทั้งแบบที่ช่องขนานกับถนนและขวางกับถนน ซึ่งอย่างหลังอันตรายมากเพราะล้อเราอาจเข้าไปติดได้ครับ

นอกจากร่องตะแกรงที่ต้องระวังแล้ว ขอบของตะแกรงที่ไม่เสมอกับพื้นถนนนั้นมักคมและทำให้ยางแตกได้เป็นประจำ ดังนั้นหากเลี่ยงได้ควรเลี่ยงตะแกรงทั้งชิ้น

6.4 ฝาท่อระบายน้ำ

คล้ายกับตะแกรงระบายน้ำที่ไม่ทำให้ล้อตกร่อง แต่ทำให้ลื่นได้ง่ายเนื่องจากฝาท่อมักทำจากโลหะที่มีความลื่นมากกว่าพื้นถนน โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงที่มีน้ำขังด้านบน ข้อนี้หลายคนมักมองข้ามและปั่นทับไปเลยจนเผลอลื่นง่ายๆ

6.5 ตาแมว

ตาแมวมีทั้งแบบก้อนใหญ่ๆ สีเหลือง ก้อนสี่เหลี่ยมเล็กแบน และก้อนกลมสะท้อนแสง ทั้งสามแบบล้วนเป็นสาเหตุให้เกิดการสะดุดได้ทั้งสิ้น โดยเฉพาะเมื่อตาแมวเสื่อมสภาพและไม่สะท้อนแสงให้เห็นตอนกลางคืน แนะนำว่าพยายามเลี่ยงแนวตาแมวซึ่งมักอยู่ตรงกับแนวเส้นขาวแบ่งเลน และหากต้องการเปลี่ยนเลนให้พยายามจับจังหวะช่องว่างระหว่างตาแมวเหล่านี้ และค่อยเปลี่ยนเลนตรงช่วงนั้น


7. การเดินทางร่วมกับระบบขนส่งสาธารณะ

บางครั้งการปั่นจักรยานอาจไม่สามารถไปถึงที่ทำงานได้ในต่อเดียว หรือมีเหตุจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนไปใช้ระบบขนส่งสาธารณะแทน ก็ควรเตรียมพร้อมสำหรับเหตุการณ์ดังกล่าวด้วย


บทความนี้สนับสนุนโดย คอนโด FYNN ASOKE

FYNN ASOKE เป็นคอนโดใหม่ใจกลางย่านอโศกที่ให้ความสำคัญกับการเดินทางมากกว่าแค่รถไฟฟ้าและรถยนต์ เพราะโลเคชั่นกลางย่านออฟฟิศทำให้เราเลือกเดินทางไปทำงานด้วยจักรยานได้ด้วย

หลังเลิกงานเรายังไปปั่นจักรยานหรือใช้เวลาพักผ่อนได้ในสวนเบญจกิติที่อยู่ใกล้ตัวคอนโดแค่ 200 เมตร ใกล้แค่อึดใจเดียว ที่สำคัญมีทางลัดสำหรับจักรยานและคนเดินตัดทะลุไปถึงสวนลุมพินีได้โดยไม่ต้องพึ่งพาถนนใหญ่ ไม่ต้องกังวลเรื่องความปลอดภัยด้วย

ลองจินตนาการว่าคุณนัดกับเพื่อนไว้ที่สวนลุมพินีในตอนเย็น แต่ถนนสุขุมวิทนั้นช่างแสนติด คุณอาจเพียงแค่หยิบจักรยานคันเก่งปั่นเข้าไปในซอย ผ่านทางลัดไปออกสวนลุมพินีได้โดยไม่ต้องเจอกับรถติด ไม่ต้องเครียด สูดหายใจได้เต็มปอดจากต้นไม้ที่คายออกซิเจนตลอดทาง

นอกจากเส้นทางที่สะดวกทั้งการปั่นไปทำงานและออกกำลังกายแล้ว ทางคอนโดมี Bike Locker สำหรับให้เช่า เจ้าของจักรยานไม่จำเป็นต้องแบกรถขึ้นห้องทุกครั้งและช่วยประหยัดพื้นที่ใช้สอยในห้องด้วย

แต่ถ้าวันไหนอากาศร้อนหรือฝนตกไปออกกำลังกายข้างนอกไม่ได้ ทางคอนโดเองก็มีห้องยิมที่ใช้จักรยาน Smart indoor trainer คุณภาพสูงที่สามารถปรับใช้เกียร์ได้เหมือนจริงและจำลองเส้นทางการปั่นแบบที่เราต้องการได้ หรือจะเชื่อมต่อปั่นแบบออนไลน์กับคนอื่นๆ ที่กำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มนักปั่น สภาพห้องคลับเฮ้าส์ออกแบบในธีม Co-Training Space ที่กระตุ้นให้ลูกบ้านมาออกกำลังกายร่วมกันด้วย

คอนโด FYNN ASOKE ตั้งอยู่ที่ถนนสุขุมวิทซอย 10 ซึ่งเป็นซอยเดียวของถนนสุขุมวิทที่สามารถทะลุมายังสวนเบญจกิติได้ สำรวจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคอนโดได้ที่ลิงก์นี้

ลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิพิเศษ https://bit.ly/2IqyXdt หรือโทร 092-201-9999

By จุติพงศ์ ภูสุมาศ

ใช้ กับตันทีมปั่นฝัน ใช้ชีวิตควบคู่กับการปั่นตั้งแต่สมัยเรียนจนถึงปัจจุบัน สนใจในทุกด้านของเครื่องจักรสองล้อพลังเท้า!