แอโรละกี่บาท?

ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมามองไปทางไหนก็มีแต่เรื่องของแอโรไดนามิก ทั้งเฟรม ทั้งล้อขอบสูง ทั้งหมวก แต่คุณเคยถามตัวเองไหมว่าการซื้ออุปกรณ์สุดลู่ลมแต่ละอย่างมานั้นมันลู่ลมขนาดไหน ถ้าอยากจะแอโรเซฟกันทุกเม็ดทุกวินาทีจริงๆ อะไรช่วยเยอะที่สุด และคุ้มค่าเงินต่อความแอโรที่สุด? คำตอบคือ ไม่ใช่เฟรม และไม่ใช่ล้อ ซึ่งเป็นสองอย่างแรกที่เรามักเลือกซื้อกัน

ลองดูกราฟนี้ประกอบครับ เป็นข้อมูลเรื่องผลของอุปกรณ์ที่มีต่อการลดแรงค้านลมต่อราคา จาก POC ซึ่งเชื่อว่าหลายๆ คนคงเคยเห็นตารางลักษณะนี้มาบ้างแล้ว 

Screen Shot 2557-08-13 at 8.43.59 PM Screen Shot 2557-08-13 at 8.44.04 PM

อะไรต้านลมที่สุด? ร่างกายนักปั่นคิดเป็น 80% ของแรงต้านลมทั้งหมด เลยไม่น่าแปลกใจว่าทำไมเปลี่ยนจากชุดปั่นธรรมดาเป็นสกิทสูทแนบเนื้อ ถึงช่วยลดแรงต้านได้ถึง 289 กรัม ประหยัดเวลาได้ 134 วินาทีในระยะทาง 40km คิดเป็นความคุ้มเงินอยู่ที่ประมาณ 50 กว่าบาทต่อวินาที เช่นเดียวกับการเพิ่มแอโรบาร์เพื่อเปลี่ยนท่าปั่นให้มุดลมมากขึ้นก็มีผลชัดเจน ในความคุ้มที่ใกล้เคียงกัน สกินสูทนั้นลู่ลมกว่าถอดเสื้อปั่นเสียอีก นั่นก็เพราะผิวหนังมนุษย์นั้นไม่ใช่พื้นผิวที่ลู่ลมสักเท่าไรครับ

หมวกทรงแอโรก็ถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าสำหรับนักล่าวินาทีเช่นกันครับ ได้ผลดีกว่าล้อคาร์บอนขอบสูงเกือบเท่าตัว ค่าตัวอยู่ที่ 90 บาทต่อ 1 วินาที

ส่วนล้อขอบสูงนั้นถึงจะได้ผลไม่มากเท่าเครื่องแต่งกาย แต่อย่าลืมว่าล้อที่ดีช่วยปรับฟีลลิ่งการปั่นให้ดีขึ้นด้วย ทั้งความสติฟและน้ำหนักที่เบาลงช่วยให้เร่งออกตัวได้ดีกว่า อีกอย่างล้อเป็นของที่อยู่ติดจักรยานตลอดเวลา ไม่ต้องถอดใส่ เหมือนเสื้อผ้าแอโรทีใช้จริงไม่สะดวกเท่าไร ก็ยังถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มเช่นกัน เพราะมันทำงานตลอดเวลา เดี๋ยวนี้ก็มีตัวเลือกเยอะหลายระดับราคาตามกำลังซื้อ

ท่าปั่นมุดลมและสกินสูทแนบชิดผิวหนังมีผลต่อการลดแรงต้านลมที่สุด ถ้าคิดเป็นค่าความแอโรก็ถือว่าถูกและคุ้มที่สุดเมื่อเทียบกับการอัปเกรดอุปกรณ์อย่างอื่น
ท่าปั่นมุดลมและสกินสูทแนบชิดผิวหนังมีผลต่อการลดแรงต้านลมที่สุด ถ้าคิดเป็นค่าความแอโรก็ถือว่าถูกและคุ้มที่สุดเมื่อเทียบกับการอัปเกรดอุปกรณ์อย่างอื่น

ขณะเดียวกันเฟรมจักรยานแอโรช่วยลดแรงต้านลมน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับสกินสูท แอโรบาร์ ล้อ และถุงคลุมรองเท้า คิดเป็นเม็ดเงินแล้วถือว่าคุ้มน้อยที่สุดที่เกือบๆ 5600 บาทต่อ 1 วินาทีที่ประหยัดไป! (แต่สิ่งที่ได้มาคงเป็นคุณค่าทางจิตใจ เพราะเฟรมก็เป็นเหมือนตัวแทนของเราในโลกการปั่นจริงมั้ย แค่มันอาจจะไม่ “ไหล” อย่างที่เราจินตนาการหรือที่ผู้ผลิตเขาพยายามจะชักจูง ^^”)

เห็นจากราคาต่อวินาทีแล้ว ก็ชัดเจนว่าขายอะไรได้กำไรเยอะที่สุด จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ผู้ผลิตจะโปรโมทเฟรมแอโรรุ่นล่าสุดมากกว่าสินค้าอื่นๆ แต่ถ้าเรามองในภาพรวมเรื่องศาสตร์แห่งการลดแรงต้านลมจริงๆ แล้วจะเห็นว่าการเปลี่ยนเฟรมอาจจะไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุดเมื่องบประมาณจำกัดครั

By เทียนไท สังขพันธานนท์

คูน คือผู้ก่อตั้งดั๊กกิ้งไทเกอร์ และอยากใช้เว็บไซต์นี้ช่วยให้คนไทยอยากขี่จักรยานกันเยอะๆ!

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *