พาเที่ยวงาน Tokyo Cycle Mode 2022

หลังจากต้องงดจัดไปสองปีเนื่องจากสถานการณ์โควิด งานแสดงจักรยานที่ใหญ่ที่สุดขงญี่ปุ่นก็กลับมาจัดได้อีกครั้ง เมื่อวันที่ 2-3 เมษายนที่ผ่านมา กลับมาครั้งนี้สเกลงานเล็กลงเล็กน้อย อาจจะเพราะผู้ออกบูธจากนานาชาติยังเดินทางเข้าญี่ปุ่นไม่ได้ ภายในงานจึงเป็นการจัดแสดงโดยบริษัทผู้นำเข้า หรือบริษัทต่างชาติที่มีสาขาในญี่ปุ่นเท่านั้น (เช่น Wahoo เป็นต้น) ในทางกลับกัน ข้อดีคือสถานที่จัดงานย้ายมาที่โอไดบะในโตเกียว แทนที่จะไปจัดไกลถึงจิบะเพราะงานใหญ่ เดินทางสะดวกกว่ากันมากครับ ปีนี้ DT ก็ไม่พลาด เก็บภาพบรรยากาศงานบางส่วนมาแบ่งปันให้กับท่านผู้อ่านเหมือนเช่นเมื่อสองปีก่อนครับ

เจาะรายละเอียด Lapierre Aircode DRS

หลังจากวันก่อนที่เราได้ดูรายละเอียดและดีไซน์คร่าว ๆ ของ Lapierre Aircode DRS ไปแล้ว วันนี้เราจะมาเจาะรายละเอียดการออกแบบและที่มาที่ไปของจักรยานคันใหม่ล่าสุดจากค่าย Lapierre ซึ่งเพิ่งคว้าแชมป์สเตจ 4 จิโรดิตาเลียไปเพียงไม่กี่มิลลิเมตรนี้กันครับ ในยุคที่รูปทรงจักรยานเริ่มใกล้กันขึ้นเรื่อย ๆ และความได้เปรียบทางอากาศพลศาสตร์เริ่มหายากขึ้น แบรนด์ต่าง ๆ ยิ่งต้องเพิ่มงบประมาณการวิจัยและพัฒนาเพื่อรีดศักยภาพการแหวกอากาศของเฟรมจักรยานทรงเพชร สิบปีก่อนแค่ออกแบบให้ “ดู” แอโร่ก็เพียงพอแล้ว ห้าปีก่อนใช้ซอฟต์แวร์จำลองการไหลของอากาศเพียงอย่างเดียวก็รับได้ ในขณะที่ปัจจุบัน เจ้าไหนไม่เข้าอุโมงค์ลมจริง ๆ เริ่มจะตามคนอื่นไม่ทันแล้ว ผลประโยชน์ทั้งหมดก็ตกกับผู้บริโภคนี่ล่ะครับ สำหรับการออกแบบ Aircode รุ่นที่สามนี้ แบรนด์จากเมืองดิฌองไปร่วมมือกับ เบิร์ท บล็อคเค่น อาจารย์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีไอนด์โฮเว่น ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งหากติดตามวงการจักรยานมาสักระยะ อาจจะเคยเห็นชื่ออาจารย์ท่านนี้ผ่านตามาก่อน เพราะเขานี่เองที่ทดลองเอาท่านั่งปั่นบนท่อนอน ที่ฟรูมใช้หนีกลุ่มตอนลงจากเขาลาพลองช์เดเบลฟีส์ มาพิสูจน์ในอุโมงค์ลมดูว่ามันแอโร่จริงไหม ดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่าบริษัทได้ที่ปรึกษาซึ่งเป็นนักอากาศพลศาสตร์ตัวจริงและคร่ำหวอดวงการจักรยานแข่งขันแน่นอน จากการออกแบบเบื้องต้นด้วยซอฟต์แวร์ CFD (computational fluid dynamics) พบว่าเมื่อย้ายส่วนที่ป้านที่สุดจากด้านท้ายท่อล่าง (เดิม, สีส้ม) มาไว้ส่วนกลาง (ใหม่, สีฟ้า) ทำให้คงความสติฟของตัวถังไว้ได้ แต่แหวกอากาศได้ดีขึ้น นอกจากนี้ส่วนบนของตะเกียบหน้ากับส่วนบนของท่อล่างก็ถูกออกแบบมาให้เสมือนเป็นชิ้นเดียวกัน… Continue reading เจาะรายละเอียด Lapierre Aircode DRS

Mitchelton-Scott ได้สปอนเซอร์หลักใหม่ เปลี่ยนชื่อทีมเป็น Manuela Fundación

เมื่อสักครู่ มีแถลงข่าวจากทีม GreenEDGE ว่าพวกเขาได้สปอนเซอร์ใหม่ เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรจากภูมิภาคแกรนาด้าในประเทศสเปน ชื่อ Manuela Fundación (มานูเอลา ฟุนดาซิออน) ซึ่งจะทำให้ทีมเปลี่ยนชื่อเป็น Team Manuela Fundación ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เมื่อฤดูกาลแข่งขันเริ่มต้นขึ้นอีกครั้งในช่วงปลายปี ไปจนถึงตลอดฤดูกาล 2021 เป็นอย่างน้อย (ในแถลงข่าวไม่ระบุว่าเซ็นสัญญาไว้กี่ปี เดาว่าคงรอดูปีต่อปี) Manuela Fundación เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ทำงานเพื่อสังคมในประเทศสเปน ก่อนหน้านี้ก็มีทีมระดับ U23 เป็นของตัวเองแล้วหนึ่งทีม แต่การเลื่อนขั้นมาสนับสนุนทีมระดับ WorldTour ย่อมเป็นการก้าวกระโดดที่ใหญ่กว่าเดิมมาก ทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องน่ายินดีแทนทีม GreenEDGE เพราะนอกจาก Gerry Ryan เศรษฐีชาวออสเตรเลียแล้ว พวกเขาเคยมีสปอนเซอร์อื่นเพียงบริษัทเคมีภัณฑ์และระเบิดสำหรับการทำเหมือง Orica เท่านั้น (แบรนด์อื่น ๆ ที่ผ่านมา ทั้ง BikeExchange (เว็บขายจักรยานมือสอง) และ Mitchelton (ไร่องุ่นและโรงไวน์) จริง ๆ ก็เป็นกิจการของ Jerry ทั้งหมด) ยิ่งในภาวะเศรษฐกิจถดถอยจากโควิด–19ด้วยแล้ว หลายทีมสปอนเซอร์ก็ถอนตัวออกไป… Continue reading Mitchelton-Scott ได้สปอนเซอร์หลักใหม่ เปลี่ยนชื่อทีมเป็น Manuela Fundación