DT Guide: เฟรม Aero ช่วยประหยัดเวลาได้ขนาดไหน?

โพสต์ที่แล้วเราดูข้อดีข้อด้อยของเฟรมแอโรไป โพสต์นี้เรามาดูตัวเลขกันเลยดีกว่าว่าเฟรม Aero มันช่วยประหยัดเวลาในการปั่นได้ขนาดไหน!?

Published
Categorized as Going Fast

กำแพงแห่งความเจ็บปวด

Eddy Merckx กล่าวว่าผู้ชนะคือคนที่อดทนต่อความเจ็บปวดได้มากที่สุดเสมอ อะไรที่ทำให้นักปั่นบางคนทนต่อความเจ็บปวดได้มากกว่าคนอื่น? นักปั่นภูธรอย่างเราจะสร้างความอดทนมากขึ้นได้อย่างไร? DT มีคำตอบครับ

GCN x DT: ฝึกเข้าโค้งแบบเนียนๆ

การเข้าโค้งด้วยความเร็วถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่งในการปั่นและต้องอาศัยการฝึกฝนและน่าจะเป็นทักษะที่มือใหม่หลายคนละเลย หรือไม่มีคนสอนให้เข้าโค้งได้อย่างถูกต้องถ้าเราเข้าโค้งจนชำนาญแล้วนอกจากจะช่วยให้ปั่นได้ปลอดภัย ไม่ล้ม ไม่หลุดโค้ง ล้อไม่ล๊อก ยังทำให้ทำความเร็วได้ดีขึ้นอีก วันนี้มาดูวิดีโอสอนการเข้าโค้งตามหลักสูตร GCN จาก Danield Loyd และ Simon Richardson ครับ ((โพสต์นี้เป็นการแปลและแทรกข้อมูลตามที่ผมพอจะมีความรู้ ไม่ได้อวดอ้างฝีมือครับ คิดว่ามีประโยชน์ก็แบ่งปันตามสไตล์ DT เพราะงั้นใครมีประสบการณ์เยอะ เห็นว่าตรงไหนควรเพิ่มเติมแก้ไข ก็ลงคอมเม้นต์ได้เลย จะเป็นประโยชน์กับคนอื่นมากๆ ผมเห็นว่าการขี่จักรยานมันไม่ค่อยจะมีคนบอกคนสอน และไม่มีแหล่งความรู้ เลยอยากจะทำบทความแนว How-to บ่อยๆ อาศัยประสบการณ์บ้าง และอ้างอิงแหล่งความรู้ต่างประเทศบ้าง นั่นคือจุดประสงค์ครับ)) ก่อนเข้าโค้ง (Approaching) สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงก่อนการเข้าโค้งก็คือ คุณสามารถประคองความเร็วเพื่อเข้าและออกจากโค้งได้อย่างปลอดภัยด้วยความเร็วประมาณเท่าไร? ปัจจัยที่กำหนดความเร็วในการเข้าโค้งก็คือ องศาโค้ง: โค้งยิ่งหักมาก รัศมีน้อย ความเร็วที่ใช้ก็ต้องต่ำลงตามไปด้วย สิ่งที่เป็นตัวบอกเราก่อนเข้าโค้งว่าโค้งหักมากหรือเปล่าก็คือ ปลายโค้ง ถ้าเรามองไม่เห็นปลายโค้ง แสดงว่าองศาหักมันค่อนข้างเยอะครับ ก็ต้องผ่อนความเร็วตามไปด้วย ความกว้างของถนน: ยิ่งแคบก็ยิ่งต้องใช้ความเร็วต่ำลง ถ้าถนนกว้างคุณก็สามารถตัดเลือกไลน์โค้งได้ง่ายขึ้น ด้วยความเร็วที่มากขึ้นตามไปด้วย ความลื่นของถนน: ยิ่งถนนลื่นเพราะเปียกน้ำ หรือขรุขระ ไม่เรียบก็หมายความว่าหน้ายางเราจะเกาะถนนได้แย่ลง ความเร็วย่อมตกลง ดูเหมือนจะต้องสังเกตเยอะ แต่ปรกติเวลาเราปั่นเราก็มองไปข้างหน้าอยู่แล้ว… Continue reading GCN x DT: ฝึกเข้าโค้งแบบเนียนๆ

3 วิธีลดแรงต้านลมอย่างง่ายๆ

วันนี้มีวิดีโอดีๆ จาก GCN มาฝากอีกแล้วครับ คราวนี้เป็นทิปการลดแรงปะทะลม อย่างง่ายๆ เพื่อเพิ่มความเร็วในการปั่น และเทคนิคการเลือกใช้อุปกรณ์เพื่อเพิ่มความลู่ลม จาก Phil White เจ้าของจักรยาน Cervelo และเซียน Aerodynamics ตัวพ่อ มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง 1. ปรับท่านั่ง อุปสรรคสำคัญที่เป็นตัวแปรกำหนดความเร็วการปั่นของเราก็คือขนาดตัวและท่านั่งครับ เพราะตัวเราก็เหมือนกำแพงต้านลมหลักๆ เลย ถ้าปรับตำแหน่งท่านั่งให้ลู่ลมมากขึ้น ก็จะช่วยลดแรงต้านลมและปั่นได้ไวขึ้น ลองดูง่ายๆ จากท่านั่งปั่น Time Trial ที่หลังนักปั่นนั้นแบนราบขนานไปกับพื้นเลย ซึ่งช่วยเพิ่มความเร็วและลดแรงต้านลมได้เยอะแต่ยังคงรักษาองศาท่านั่งเดิมจากการปั่นเสือหมอบ ทำให้ไม่รู้สึกไม่สบายตัวจนเกินไป สำหรับเสือหมอบธรรมดาที่เราใช้กันนั้น จะเปลี่ยนท่านั่งให้มุดลมก็ไม่พ้นการจับดรอปครับ เสือหมอบแอโร่รุ่นใหม่บางคันนั้นมีองศาการนั่งที่ค่อนข้างคล้ายคลึงรถ Time Trial ท่อคอสั้น ทำให้ก้มได้เยอะ แต่ถ้าร่างกายเราไม่ยืดหยุ่นพอก็อาจจะปั่นได้ไม่สบาย เพราะฉะนั้นพยายามเลือกท่าปั่นที่เรามุดลมได้นานที่สุดและปั่นได้สบายที่สุด ซึ่งแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกัน ต้องหาจุดสมดุลกันเอง   2. เลือกล้อให้เหมาะสม Phil White แนะนำว่าในการปั่นบริเวรที่ลมพัดแรงๆ นั้น ล้อหน้าไม่ควรจะมีขอบล้อสูงจนเกินไป เพราะจะทำให้รถส่ายได้ง่ายและบังคับได้ยากขึ้นถ้าเรายังไม่ชินกับล้อขอบสูง ความสูงล้อหน้าที่ยืดหยุ่นที่สุดคือประมาณ 40mm สูงพอจะช่วยตัดลม แต่ก็ไม่สูงเกินจนส่ายง่ายๆ… Continue reading 3 วิธีลดแรงต้านลมอย่างง่ายๆ

GCN x DT: วิธีหนีเข้ากลุ่ม breakaway

การแข่งจักรยาน ไม่ว่าจะเป็นสนาม open ใจเกินร้อย ขึ้นดอยข้ามห้วย หรือแข่งกันเล็กๆ กับกลุ่มเพื่อนๆ ในทริปสุดสัปดาห์นั้นชนะกันด้วยสองวิธี คือ 1. ยิงหนี breakaway ออกไป หรือ 2. สปรินต์แข่งกันหน้าเส้นชัย แต่การจะเข้ากลุ่มสปรินต์โดยเฉพาะในการแข่งสนามใหญ่นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย นอกจากคุณจะต้องแรงดีเกาะตัวเต็งไปได้แล้ว ยังต้องมีกำลังพอจะยกหน้าเส้นแข่งกับเขาด้วย เพราะงั้นสำหรับสามัญชนคนธรรมดา การ breakaway หนีไปก่อนหวังให้คู่แข่งตามไม่ทันเพื่อคว้าชัยนั้นก็เป็นทางเลือกที่ไม่เลว และเป็นวิธีที่หลายๆ คนใช้ครองแชมป์สนามแข่งในบ้านเราจนประสบความสำเร็จ ในสนามแข่งระดับมืออาชีพก็เช่นกัน แทบทุกเสตจเราจะได้เห็นกลุ่ม breakaway ออกไปเสี่ยงดวงกัน มีโดนรวบบ้าง หรือหลุดไปบ้างก็แล้วแต่โอกาส แต่การกระชากหนีกลุ่ม peloton นั้นเขาทำกันยังไง? วันนี้ช่อง GCN เขาทำวิดีโอสอนการกระชากหนีกลุ่มครับ ขาแรงมากประสบการณ์อาจจะรู้อยู่แล้ว แต่วิดีโอ how to ของช่องนี้คงมีประโยชน์กับมือใหม่หลายๆ คนที่อาจจะไม่มีคนสอน ผู้จัดทำวิดีโอช่องนี้ ทั้ง Simon Richardson และ Daniel Lloyd ล้วนเป็นโปรเก่าในสนามยุโรป  ลองมาดูกันว่าเขาสอนอะไรบ้าง DT แปลมาให้อ่านกันครับ   1.… Continue reading GCN x DT: วิธีหนีเข้ากลุ่ม breakaway

Published
Categorized as LEARN Tagged

DT Guide: เลือกเบาะจักรยานอย่างไรให้สบายก้น?

เบาะจักรยาน (Saddle) เป็นชิ้นส่วนที่สำคัญที่สุดบนจักรยานของเราก็ว่าได้ จุดสัมผัสหลักๆ ของคนกับจักรยานก็คือเบาะ ถ้ามันใช้ได้ดีคุณอาจจะไม่รู้สึกอะไร แต่ถ้ามันไม่เหมาะกับร่างกายก็ปั่นไม่สนุกแน่ๆ แล้วเราจะเลือกเบาะอย่างไรให้เข้ากับก้นของเรา? มาดูกันครับ   เบาะติดรถ ถ้าคุณซื้อจักรยานแบบสำเร็จรูป แน่นอนว่ารถจักรยานที่เราซื้อมาจะมีเบาะแถมมาด้วย สำหรับคนทั่วไปเบาะจักรยานติดรถนั้นก็ใช้ได้ดีอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนหรืออัปเกรด นั่นก็เพราะว่า โดยมากผู้ผลิตจะเลือกทรงเบาะที่เข้าได้กับก้นของคนส่วนใหญ่เป็นหลัก เบาะมันก็เหมือนกางเกงจักรยานครับ ถ้ามันใช้ได้ดีเราก็จะไม่รู้สึกว่ามันกวนใจอะไรเลย แต่พอมันใช้ไม่ได้ เช่นทำให้เราเจ็บหว่างขา ดันน้องช้าย หรือมีอาการชา เมื่อนั้นหละมันจะกลายเป็นของที่คุณอยากเปลี่ยนให้ไวที่สุด ลองถามเพื่อนที่ปั่นจักรยานด้วยกันก็ได้ ถ้าใครเจอเบาะที่ถูกใจสบายก้นแล้วแทบจะไม่อยากไปลองรุ่นอื่นอีกเลย เป็นธรรมดาที่นักปั่นมืออาชีพ นักปั่นสายทัวร์ริ่ง ไบค์เมสเซนเจอร์จะเลือกใช้เบาะเดิมๆ ที่เข้ากับสรีระที่สุด ถึงแม้จะต้องเปลี่ยนรถหรืออุปกรณ์อื่นๆ ก็ตาม อย่างไรก็ดี ของแพงก็ใช่ว่าจะเข้ากับสรีระเราเสมอไป เบาะมีหลายรูปทรงและระดับราคา ผู้ชนะ Tour de France ในอดีตยังเคยใช้เบาะใบละพันกว่าบาทมาแล้ว จะเลือกซื้อเบาะใหม่ทั้งที คุณต้องดูอะไรบ้าง?   1. รูปทรง สิ่งสำคัญที่สุดในการซื้อเบาะใหม่ก็คือต้องดูว่ารูปทรงเบาะมันเข้ากับร่างกายและท่าปั่นของเราหรือเปล่า – ถ้าคุณชอบนั่งปั่นแบบก้มต่ำและชอบปั่นไวๆ สักหน่อย (ไสตล์โปร / แข่งขัน) เบาะแคบๆ จะใช้ได้ดีกว่าเบาะกว้างงๆ – ในทางกลับกัน… Continue reading DT Guide: เลือกเบาะจักรยานอย่างไรให้สบายก้น?

Published
Categorized as LEARN

ปั่นไปเพื่ออะไร?

เคยรู้สึกในใจมั้ยว่าคุณอยากจะออกไปปั่นจักรยานไกลๆ สักที่หนึ่ง ในป่าเขา หายตัวไปจากโลกแห่งความเป็นจริงเพื่อออกตามหาความสงบและคำถามบางอย่างที่ค้างคาอยู่ในใจ? เมื่อเช้าผมได้ดูวิดีโอตัวนึงจาก Mavic เป็นเรื่องของ Mike Cotty, พนักงานจาก Cannondale ซึ่งวางแผนจะออกปั่นเป็นเวลา 36 ชั่วโมงเพื่อพิชิตยอดเขา 17 ลูกบนเทือกเขาแอลป์ในประเทศฝรั่งเศส ว่ากันคร่าวๆ ความสูงที่เขาต้องปีนนั้น สูงชันเทียบได้กับการขึ้นภูเขาเอเวอเรสต์สองครั้งต่อกัน Mike จะออกปั่นในวันที่ 5 สิงหาคมนี้ แต่ในวิดีโอตัวนี้เขาบรรยายความรู้สึกก่อนจะออกปั่นไว้ได้กินใจทีเดียวครับ เชื่อว่าน่าจะสะท้อนความรู้สึกในใจของนักปั่นหลายๆ คนทีเดียวครับ ผมหละคนหนึ่ง เขาเล่าไว้ว่า:   If I am honest, I really don’t recall where I originally started. The feeling in side is hard to explain, consuming your mind and keeping you from… Continue reading ปั่นไปเพื่ออะไร?

Published
Categorized as Mind Game

GCN x DT: กลยุทธ์การสปรินต์แบบโปร

ในสัปดาห์ที่สองของการแข่ง Tour de France ปีนี้เสตจส่วนใหญ่มักจะจบลงด้วยการสปรินต์ แต่กลยุทธ์และเกมการสปรินต์ของแต่ละทีมนั้นเป็นอย่างไร เริ่มจากจุดไหน และทำยังไงบ้าง? วันนี้ช่อง GCN พาโปรเก่า Simon Richardson มาอธิบายให้เราฟังกันครับ เวลาดูเสตจสปรินต์จะได้เข้าใจถึงกลยุทธ์ของนักแข่ง และเชียร์กันได้สนุกขึ้นอีก! ควบคุม Breakaway ปรกติแล้วในเสตจที่ทุกทีมคิดว่าน่าจะจบด้วยการสปรินต์ (ส่วนใหญ่เป็นเสตจทางราบ) สิ่งแรกที่ต้องพิจารณาสำหรับทีมที่มีาสปรินเตอร์และทีมที่มีตัวเต็ง GC คือคอยสังเกตการณ์ว่าจะมีใครหลุดไปในกลุ่ม breakaway บ้าง สำหรับทีมสปรินเตอร์คนที่หลุดไปต้องไม่ใช่คนที่มีลุ้นคว้าแชมป์เสื้อเขียวจ้าวความเร็ว หรือเป็นพวกสปรินเตอร์ขาแรง ซึ่งถ้าหลุดไปได้ก็มีโอกาสที่จะไปตัดแต้มรางวัลคะแนนรวมสำหรับหัวหน้าทีมของตนและฉกเสื้อเขียวไปในที่สุดครับ ตัวอย่างก็เช่นนักปั่นที่อาจจะอยู่ในอันดับ Top 10 ตารางผู้นำคะแนนรวม ปรกติแล้วสปรินเตอร์หัวหน้าทีมไม่นิยมเข้ากลุ่มหนีอยู่แล้ว ไม่มีประโยชน์เพราะจะโดนจับได้ในที่สุดและค่อนข้างเปลืองแรง ส่วนทีม GC นั้นก็จะพยายามไม่ให้เหล่าคู่แข่งที่มีอันดับเวลารวมสูงๆ หลุดไปได้ ไม่งั้นอาจจะมีสิทธิฉกเสื้อเหลือง หรือทำเวลาตีตื้นหัวหน้าทีมของตัวเองได้เยอะ ซึ่งถือว่าไม่ดีครับ ที่สำคัญคือต้องไม่ปล่อยให้กลุ่มหนีมีขนาดใหญ่เกินไป ถ้ามีคนในกลุ่มเยอะก็แน่นอนว่าตามเก็บได้ยากเพราะสามารถผ่อนแรงช่วยกันปั่นได้่ดีกว่าคนน้อยๆ ส่วนใหญ่แล้วนักปั่นใน breakaway ที่รอดไปได้มักจะมีไม่เกิน 8 คน เฉลี่ยๆ แล้วอยู่ที่ 4-5 คน คล้องโซ่กลุ่มหนี ในช่วงแรกของการแข่งขัน การแย่งเข้ากลุ่ม… Continue reading GCN x DT: กลยุทธ์การสปรินต์แบบโปร

Published
Categorized as LEARN

วอร์มอัปและคูลดาวน์สำคัญอย่างไร?

เคยสงสัยกันมั้ยครับว่าทำไมเวลาโปรเขาแข่งเสร็จแล้วต้องไปขึ้นเทรนเนอร์? ไม่ว่าจะเป็นโปรมืออาชีพหรือนักปั่นธรรมดาสามัญชน การวอร์มอัปและคูลดาวน์หลังการปั่นจักรยานหนักๆ เป็นสิ่งสำคัญ เพราะมันจะช่วยให้เราออกแรงปั่นได้เต็มที่ กล้ามเนื้อไม่บาดเจ็บและฟื้นตัวได้เร็วกกว่าเดิมนั่นเองครับ   วอร์มอัปสำคัญอย่างไร? การวอร์มอัปแปลตรงๆ ตัวก็คือการ “อบอุ่นร่างกาย” เป้าหมายของการวอร์มอัปคือช่วยเตรียมพร้อมร่างกายของเราให้ออกกำลังกายได้เต็มที หลักการคือทำให้กล้ามเนื้อของเรามีอุณหภูมิสูงขึ้นพร้อมที่จะเตรียมรับการออกแรงหนักๆ และเป็นการเร่งอัตราการสูบฉีดโลหิตที่จะช่วยเพิ่มอัตราการขนส่งอ๊อกซิเจนซึ่งจำเป็นในการออกแรงแทบทุกประเภทครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการปั่นจักรยานที่เราต้องพึ่งระบบหายใจเป็นพิเศษ นอกจากนี้อุณหภูมิร่างกายที่สูงขึ้นจะช่วยให้กล้ามเนื้อเราคลายตัว ไม่แข็งตึง และขยับได้ดีไม่ติดขัด การออกกำลังกายเวลากล้ามเนื้อเย็นๆ นั้นมีสิทธิทำให้กล้ามเนื้อบาดเจ็บได้ง่ายๆ เพราะมันยังตึงและไม่คลายตัวพร้อมจะรองรับการออกแรงนั่นเองครับ   วอร์มอัปอย่างง่ายๆ สำหรับนักปั่นก็หมายความว่าไม่ควร “จัดหนัก” ตั้งแต่ขึ้นรถ อย่าพึ่งรีบกดเกียร์หนักปั่นสู้ตายถวายชีวิตตั้งแต่แรก ถ้าไม่วอร์มอัปซอยรอบขากันสักพักก่อนคุณก็จะปั่นได้ไม่ดีและอาจจะทำให้กล้ามเนื้อชำรุดได้ง่ายๆ ปั่นเกียร์เบาๆ รอบขาสูงๆ อย่างน้อย 10-15 นาทีจนเราเริ่มเครื่องอุ่น ช่วงท้ายๆ อาจจะเพิ่มเกียร์ให้หนักขึ้นสักเล็กน้อยจนรู้สึกเหงื่อออกเบาๆ แต่ไม่ถึงกับเหนื่อย เมื่อรู้สึกพร้อมแล้วก็เข้าฝึกซ้อมได้ตามปรกติ   แล้วคูลดาวน์หละ? เรื่องการวอร์มอัปนั้นอาจจะเป็นคอมมอนเซ้นส์ที่หลายๆ คนรู้กันดีอยู่แล้ว แต่สิ่งที่นักปั่นหลายคนเพิกเฉิยไม่สนใจก็คงจะเป็นการคูลดาวน์ที่ถูกต้องนี่หละครับ การคูลดาวน์นั้นอาจจะสำคัญกว่าการวอร์มอัปเสียอีก การปั่นคูลดาวน์ช่วยให้ร่างกายเราฟื้นตัวได้เร็วขึ้นและลดอาการเจ็บ ล้า ตะคริว ทั้งหลายทั้งแหล่ที่มักจะเกิดขึ้นหลังการปั่นออกกำลังกายหนักๆ เวลาเราออกแรงปั่นอย่างเต็มที่ไม่ว่าจะเป็นการเล่นรอบ สปรินต์ อินเทอร์วัล หรือปั่นตามกลุ่มด้วยความเร็วสูงก็ดี กิจกรรมเหล่านี้จะสร้างกรดแลคติคในกล้ามเนื้อ เป็นผลจากการออกกำลังกายแบบ anaerobic  การหดตัวของกล้ามเนื้อจะถูกยับยั้งเนื่องจาก โปรทีนในเซลล์กล้ามเนื้อจะไม่สามารถทำงานได้ในสภาวะที่เป็นกรดสูง… Continue reading วอร์มอัปและคูลดาวน์สำคัญอย่างไร?