9 เทคนิคการปั่นเสือหมอบในเมือง

การปั่นจักรยานในเมืองนั้นว่ากันแล้วก็ถือว่าอันตรายพอสมควร โดยเฉพาะในกรุงเทพหรือเมืองใหญ่ในบ้านเราซึ่งไม่ได้ออกแบบถนนเผื่อจักรยาน วันนี้มาดูเทคนิคที่จะช่วยให้ขี่จักรยานในเมืองได้ปลอดภัยขึ้นกันครับ ถึงเว็บนี้จะเน้นเสือหมอบแต่เทคนิคที่จะว่ากันนี้ก็น่าจะใช้ได้กับจักรยานทุกประเภท ผมเองปั่นเสือหมอบเป็นหลักและไม่ชอบเอาจักรยานใส่รถยนต์เพื่อออกไปปั่นข้างนอกไกลๆ ทำให้ต้องฝ่าเมืองและจราจรกรุงเทพทุกวันกว่าจะได้ออกกำลังกายอย่างจริงจัง หลังจากปั่นเสือหมอบในเมืองมาเกือบปีก็รวบรวมเทคนิคการปั่นให้ปลอดภัยมาฝากครับ 1. เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม อันดับแรก หมวกกันน๊อก จะปั่นรถอะไรก็ตาม รถพับ รถแม่บ้าน ฟิกซ์ ภูเขา หมอบ จะออกจากบ้านใส่หมวกไว้ก่อนเลย อย่าคิดว่าออกไปใกล้ๆ ไม่เป็นไรหรอก อุบัติเหตุเกิดได้ทุกที่ครับ แม้แต่หน้าบ้านคุณเอง เพราะฉะนั้นอย่าประมาท อีกอย่างที่แนะนำเวลาต้องไปไกลสักหน่อยคือถุงมือครับ ถ้าซื้อถุงมือที่พอดีมือมันจะไม่อึดอัดและช่วยเซฟเราได้ดีเวลาล้ม มือจะไม่ถลอกปอกเปิก มือถือเตรียมไว้ให้พร้อม เช็คปริมาณแบตด้วยถ้าจะไปปั่นไกลๆ เผื่อรถเสียจะได้โทรให้เพื่อนหรือที่บ้านมาช่วย ถ้าหลงทางอย่างน้อยก็มี Google Maps หรือแผนที่อื่นๆ พอจะดูเส้นทางได้ครับ ไฟหน้า ไฟท้ายต้องติดให้สว่างหากปั่นตอนกลางคืน ถ้าจะให้ดีควรซื้อไฟเล็กๆ ติดท้ายหมวกด้วยครับ ใครขี่รถยนต์ตอนกลางคืนแล้วโดนจักรยานไม่ติดไฟปั่นสวนหรือปั่นตาม คุณจะรู้ว่ามันมองแทบไม่เห็นเลยและอันตรายมากๆ อย่าคิดว่าปั่นในเมืองมีไฟท้องถนนก็สว่างพอ… คนขี่รถยนต์เขามองเห็นไม่เหมือนคนขี่จักรยานครับ มุมมองรับภาพ และโฟกัสมันไม่เหมือนกัน ขี่รถยนต์เราจะมองเห็นไม่กว้างเท่าจักรยาน ต้องคิดเผื่อเพื่อนร่วมทางด้วยครับ   2. ผ้าปิดจมูก ชิ้นนี้สำคัญมากครับ แต่ก่อนผมก็ไม่เคยคิดจะใส่ เวลารถติดก็ต้องดมฝุ่นควันสารพัด แต่พอได้ใส่แล้วถึงรู้ว่ามันช่วยป้องกันฝุ่นควันรถได้ดีมากๆ ถ้าซื้อผ้าที่มันระบายอากาศดีๆ หน่อยจะไม่อึดอัดเลยครับ… Continue reading 9 เทคนิคการปั่นเสือหมอบในเมือง

Published
Categorized as LEARN

ยอดนักปั่น เขาปั้นกันอย่างไร?

ผู้ปกครองหลายๆ คนที่ชื่นชอบการปั่นจักรยานต่างใฝ่ฝันให้ลูกตัวเองได้เข้าแข่งจักรยานระดับโลก เช่นเดียวกับที่นักปั่นเยาวชนชื่อดังหลายคนที่ประสบความสำเร็จทั้งชื่อเสียงและเงินทองอย่าง Tejay Van Garderen (ทีม BMC) อันดับ 5 Tour de France ปี 2012 และ Taylor Phinney อดีตแชมป์ Paris-Roubaix ระดับ U23 สองสมัยซ้อน แต่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถเป็นแชมเปี้ยนได้ วันนี้เรามาดูกันว่ามีปัจจัยสามอย่างที่มีผลกระทบต่อศักยภาพนักปั่นมากที่สุด นั่นคือ พันธุกรรม แรงกระตุ้น และการสนับสนุนจากคนรอบข้าง หมายเหตุ: บทความนี้เรียบเรียงจากข้อเขียนของ Dr. Jim Taylor ซึ่งเขียนเป็นบทความลงในเว็บไซต์ Pezcyclingnews เมื่อวันที่ 16 มกราคมปีนี้ครับ Dr. Jim Taylor เป็นแพทย์ชั้นนำในวงการวิทยาศาสตร์การกีฬา เคยเป็นที่ปรึกษาสุขภาพจิตให้โปรทีมจักรยานระดับโลกและกีฬาอื่นๆ อีกมากมาย     1. พันธุกรรม (genes) พันธุกรรมคือรากฐานความสำเร็จของนักปั่นแทบทุกคน ไม่ว่าเขาจะได้รับความช่วยเหลือขนาดไหน หรือจะมีความมุ่งมั่นมากสักเท่าไรก็ไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ถ้าขาดลักษระร่างกาย กล้ามเนื้อ ระบบเลือดและทางเดินหายใจที่เหมาะสมครับ อย่างไรก็ดีใช่ว่าคนที่ตั้งใจมุมานะฝึกซ้อม… Continue reading ยอดนักปั่น เขาปั้นกันอย่างไร?

GCN x DT: รู้จักศัพท์ประจำวงการเสือหมอบ

กีฬาแข่งจักรยานเสือหมอบมีรากมาจากฝั่งยุโรป ศัพท์เฉพาะจึงมาจากหลายภาษา ไม่ว่าจะเป็นฝรั่งเศส อิตาลี เฟลมมิช คนที่พึ่งดูจักรยานแข่งอาจจะงงๆ เล็กน้อยว่าศัพท์แสงแปลกๆ แต่ละคำหมายถึงอะไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อชมช่องถ่ายทอดสดที่ไมไ่ด้พายก์อังกฤษครับ วันนี้ Ducking Tiger รวมศัพท์ในวงการทุกคำ พร้อมคำไทยที่เราใช้กันเพื่อความสะดวกต่อการชมแข่งก่อนรายการใหญ่ Tour of Flanders วันอาทิตย์นี้ครับ   Bike Racing Vocabulary Attack: การ “ยิง”​ หรือ “โจมตี”​ กลุ่มด้วยการเร่งความเร็วสูงแซงหน้ากลุ่มหรือคู่แข่งจากทีมอื่นๆ Autobus/ Grupetto: กลุ่มนักปั่นที่อยู่รั้งท้ายช่วงเสตจภูเขา โดยมากจะร่วมมือกันปั่นให้เข้าเส้นชัยก่อนโดนตัดสิทธิให้แข่งเสตจต่อไป (Time cut) Anakomst/ Arrivée: เส้นชัย Ammiraglia: รถซัพพอร์ท (ภาษาอิตาลี) Ardennes: แคว้น Ardennes ในประเทศเบลเยี่ยม โดยมากจะมีภูเขาชัน เป็นที่จัดแข่งรายการคลาสสิคเช่น Amstel Gold Race, Liege-Bastonge-Liege Bas côté: ถนนที่ไม่ได้ราดยาง Bentonweg: ถนนคอนกรีต… Continue reading GCN x DT: รู้จักศัพท์ประจำวงการเสือหมอบ

Bike Safety: 6 วิธีป้องกันอุบัติเหตระหว่างการปั่นเสือหมอบ

อันตรายจากการชนบนนจักรยานเสือหมอบมีแนวโน้มที่จะรุนแรงกว่าจักรยานประเภทอื่นแต่ใช่ว่าจะป้องกันไม่ได้ วันนี้มาดูวิธีวิธีป้องกันอุบัติเหตุระหว่างการปั่นเสือหมอบ

Published
Categorized as LEARN

13 ข้อดีของการปั่นจักรยาน?

เชื่อว่าคนที่ติดตามเว็บ DuckingTiger คงเป็นนักปั่นตัวยงกันอยู่แล้ว แต่ก็อาจจะมีหลายๆ คนที่ยังลังเล ไม่รู้ว่าจะเริ่มปั่นดีไหม หรือควรจะตั้งใจปั่นอย่างจริงจังหรือเปล่า วันนี้เรามี ประโยชน์ของการปั่นจักรยาน 13 ข้อ ที่จะช่วยยืนยันว่าการปั่นจักรยานนั้นมีประโยชน์จริงๆ ครับ   1. ช่วยให้นอนหลับลึกกว่าเดิม การออกปั่นจักรยานตอนเช้าๆ ช่วยให้เราหลับได้ลึกกว่าเดิมและลดปัญหาการนอนไม่หลับ คณะแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ดได้ทดลองให้คนที่มีปัญหานอนหลับยาก (Insomnia) ออกไปปั่นจักรยานตอนเช้าทุกๆ วัน วันละ 20-30 นาที ผลปรากฏว่าคนที่มีปัญหาการนอนไม่หลับสามารถนอนหลับสนิทได้เร็วขึ้นเกือบหนึ่งชั่วโมง จากแต่ก่อนที่อาจจะต้องนอนรอให้ง่วงเป็นเวลานาน การไปออกกำลังกายยามเช้าช่วยให้ร่างกายเราได้รับแสงแดดตามเวลาที่ควรจะเป็น ช่วยให้ร่างกายหลับได้ง่ายขึ้นในตอนกลางคืน   2. ช่วยให้หน้าตาดูอ่อนวัยกว่าเดิม ข้อนี้หลายคนน่าจะชอบ การปั่นจักรยานช่วยให้ร่างกายเราลำเลียงอ๊อกซิเจนและสารอาหารได้ดีขึ้น และช่วยขับถ่ายสารพิษในร่างกายได้มีประสิทธิภาพขึ้น นอกจากนี้การออกกำลังกายอย่างการปั่นจักรยานจะช่วยกระตุ้นการผลิตสารคอลลาเจน ช่วยลดรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้า จึงไม่แปลกว่าทำไมคนที่ปั่นจักรยานเป็นประจำจึงหน้าตาอิ่มเอิบและผิวพรรณสดใสครับ (แต่อย่าลืมถ้าครีมกันแดดก่อนออกรอบหละ)   3. ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจากมหาวิทยาลัย Bristol ยืนยันว่าการปั่นจักรยานจะช่วยกระตุ้นให้อาหารไหลผ่านลำไส้ได้เร็วกว่าซึ่งช่วยลดการดูดซับน้ำในลำไส้ใหญ่ หมายความว่าก้อนอุจจาระก็จะไม่แห้งทำให้เราถ่ายได้คล่องขึ้นครับ นอกจากนี้การปั่นจักรยานช่วยกระตุ้นการหายใจและอัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งเพิ่มกำลังในการบีบรัดตัวของลำไส้ ช่วยให้เราไม่รู้สึกอึดอัดหลังการทานอาหาร และป้องกันโรคมะเร็งลำไส้อีกด้วย   4. เพิ่มประสิทธิภาพสมอง ผลวิจัยจากมหาวิทยาลัยอิลินอยส์พบว่าคนที่ปั่นจักรยานเป็นประจำทำคะแนนการทดสอบสมองได้ดีกว่าปรกติถึง 15%… Continue reading 13 ข้อดีของการปั่นจักรยาน?

Published
Categorized as LEARN

GCN X DT: 10 วิธีเพิ่มความลู่ลมในการปั่นอย่างง่ายๆ

เส้นทางการปั่นจักรยานส่วนใหญ่ในบ้านเรามักจะเป็นทางเรียบที่รับลมได้เต็มที่ หมายความว่าเราจะปั่นได้ไวขนาดไหนก็ขึ้นอยู่กับว่าลมสวนที่กระทบหน้าเรานั้นแรงขนาดไหน ถ้าแรงมากก็ต้องออกแรงมาก แต่ถ้าโชคดีมีลมส่งท้ายก็ไปได้ไวมากขึ้น เพราะฉะนั้นการเพิ่มความแอโร่ไดนามิคให้รถเสือหมอบและนักปั่นลู่ลมมากขึ้นย่อมประหยัดแรง ช่อง Global Cycling Network ใน youtube เขามีเทคนิคมาแนะนำครับ บางอันก็ขำดี บางอันก็ทำได้จริง มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง 1. โกนขนหน้าแข้ง นักปั่นจักรยานกับขนหน้าแข้งเป็นของแสลงกัน หลายคนเชื่อว่าหน้าแข้งเรียบๆ ช่วยเพิ่มความลู่ลมได้ดีขึ้น เรื่องนี้เป็นข้อถกเถียงทางวิทยาศาสตร์กันมานานกว่าร้อยปี และเป็นธรรมเนียมอย่างหนึ่งสำหรับนักปั่นครับ ผลการวิจัยในปี 1987 พบว่าหน้าแข้งเกลี้ยงๆ ช่วยประหยัดเวลาได้ 0.6% หรือ 5 วินาทีในการปั่น Time Trial ระยะทาง 40 กิโลเมตรที่ความเร็ว 37 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จัดว่าไม่น้อยเลยใช่ไหมครับ!? แต่จะช่วยประหยัดได้ขนาดไหนก็ขึ้นอยู่กับว่าขนหน้าแข้งคุณดกหรือเปล่า โปรชอบโกนขนหน้าแข้งเพราะเวลานวดตัวจะสบายและไม่เจ็บ ปรกติเวลาแข่งเสร็จโปรจะต้องให้หมอนวดประจำทีมบีบคลายกล้ามเนื้อให้ ถ้าขนหน้าแข้ง และขนแขนยาวมันก็จะนวดลำบากและบางทีขนมันก็ดึงหนังไปด้วย ไม่สบายตัว “Absolutely. It’s the number one reason I shave. I can’t imagine… Continue reading GCN X DT: 10 วิธีเพิ่มความลู่ลมในการปั่นอย่างง่ายๆ

โปรเสือหมอบ vs มือสมัครเล่นต่างกันอย่างไร?

วันนี้มาดูกันว่าโปรเสือหมอบมีอะไรต่างกับนักปั่นสามัญชนอย่างพวกเราบ้างครับ ไม่ว่าจะเป็นความเร็วเฉลี่ย  – พลังงานที่ใช้ – ระยะทางที่ปั่น – อุปกรณ์ และอื่นๆ อีกมากมาย! วันนี้ผมได้ข้อมูลน่าสนใจมาจากนิตยสาร Bicycling Magazine ซึ่งเป็นรวมสถิติจากการแข่ง Tour de France ปี 2011 เปรียบเทียบความต่างหลายๆ อย่างระหว่างโปรเสือหมอบกับนักปั่นธรรมดาๆ อย่างพวกเราครับ   ความเร็วและพลังที่ใช้ (Watts) ความเร็วเฉลี่ยบนทางราบ:  27-32 km/h (คนธรรมดา) | 40-45 km/h (โปร) ความเร็วเฉลี่ยบนทางภูเขา: 14-16 km/h (คนธรรมดา) | 33-40 km/h (โปร) พลังงานเฉลี่ย: 170-220 watts (คนธรรมดา) | 405-450 watts  (โปร) ระยะทางที่ปั่นต่อสัปดาห์: 120-200 km (คนธรรมดา) | 700-800 km (โปร) บางครั้งเราดูในทีวีเห็นโปรแข่งกันเหมือนเขาจะไม่ได้ปั่นกันเร็วอะไรมากมาย แต่ใครเคยดูของจริง เลยเป็นนักแข่งก็จะรู้ว่ามันเร็วกว่าที่เราคิด การปั่นเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ใน… Continue reading โปรเสือหมอบ vs มือสมัครเล่นต่างกันอย่างไร?

ฝึกการหายใจอย่างแชมป์โลก Graeme Obree!

เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว Graeme Obree ฉายา “The Flying Scotsman” อดีตแชมป์​ World Hour Record ปี 1993, 1994  (การแข่งขันปั่นให้ได้ระยะทางมากที่สุดในหนึ่งชั่วโมง) และแชมป์โลกรายการ 4000m Pursuit ปี 1993 และ 1995  ได้เขียนตำราการฝึกซ้อมการปั่นจักรยานออกมาหนึ่งเล่มชื่อว่า The Obree Way หรือการฝึกซ้อมไสตล์ Obree ครับ ใครที่เคยชมภาพยนตร์ชีวประวัติ Graeem Obreeเรื่อง The Flying Scotsman จะรู้ว่า Obree เป็นคนที่มีชีวิตอยู่เพื่อการปั่นจักรยาน เขาหาทางเอาชนะสถิติ World Hour Record อยู่ตลอดเวลา ใช้เวลาเกือบทั้งหมดฝึกซ้อมทุกวิถีทาง พยายามหาวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยฝึกซ้อมการปั่นครับ ต้องยอมรับว่า Obree มีวิธีที่ไม่เหมือนใคร วิธีการที่เขาสอนในเล่มเขาคิดและทดลองเองเกือบทั้งหมด ผมเองได้ซื้อหนังสือเล่มนี้และอ่านจนจบ ได้ความรู้มาหลายอย่าง วันนี้เลยจะหยิบเอาเทคนิค “การหายใจ ไสตล์ Obree”… Continue reading ฝึกการหายใจอย่างแชมป์โลก Graeme Obree!

Published
Categorized as LEARN