เจาะรายละเอียด Lapierre Aircode DRS

หลังจากวันก่อนที่เราได้ดูรายละเอียดและดีไซน์คร่าว ๆ ของ Lapierre Aircode DRS ไปแล้ว วันนี้เราจะมาเจาะรายละเอียดการออกแบบและที่มาที่ไปของจักรยานคันใหม่ล่าสุดจากค่าย Lapierre ซึ่งเพิ่งคว้าแชมป์สเตจ 4 จิโรดิตาเลียไปเพียงไม่กี่มิลลิเมตรนี้กันครับ ในยุคที่รูปทรงจักรยานเริ่มใกล้กันขึ้นเรื่อย ๆ และความได้เปรียบทางอากาศพลศาสตร์เริ่มหายากขึ้น แบรนด์ต่าง ๆ ยิ่งต้องเพิ่มงบประมาณการวิจัยและพัฒนาเพื่อรีดศักยภาพการแหวกอากาศของเฟรมจักรยานทรงเพชร สิบปีก่อนแค่ออกแบบให้ “ดู” แอโร่ก็เพียงพอแล้ว ห้าปีก่อนใช้ซอฟต์แวร์จำลองการไหลของอากาศเพียงอย่างเดียวก็รับได้ ในขณะที่ปัจจุบัน เจ้าไหนไม่เข้าอุโมงค์ลมจริง ๆ เริ่มจะตามคนอื่นไม่ทันแล้ว ผลประโยชน์ทั้งหมดก็ตกกับผู้บริโภคนี่ล่ะครับ สำหรับการออกแบบ Aircode รุ่นที่สามนี้ แบรนด์จากเมืองดิฌองไปร่วมมือกับ เบิร์ท บล็อคเค่น อาจารย์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีไอนด์โฮเว่น ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งหากติดตามวงการจักรยานมาสักระยะ อาจจะเคยเห็นชื่ออาจารย์ท่านนี้ผ่านตามาก่อน เพราะเขานี่เองที่ทดลองเอาท่านั่งปั่นบนท่อนอน ที่ฟรูมใช้หนีกลุ่มตอนลงจากเขาลาพลองช์เดเบลฟีส์ มาพิสูจน์ในอุโมงค์ลมดูว่ามันแอโร่จริงไหม ดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่าบริษัทได้ที่ปรึกษาซึ่งเป็นนักอากาศพลศาสตร์ตัวจริงและคร่ำหวอดวงการจักรยานแข่งขันแน่นอน จากการออกแบบเบื้องต้นด้วยซอฟต์แวร์ CFD (computational fluid dynamics) พบว่าเมื่อย้ายส่วนที่ป้านที่สุดจากด้านท้ายท่อล่าง (เดิม, สีส้ม) มาไว้ส่วนกลาง (ใหม่, สีฟ้า) ทำให้คงความสติฟของตัวถังไว้ได้ แต่แหวกอากาศได้ดีขึ้น นอกจากนี้ส่วนบนของตะเกียบหน้ากับส่วนบนของท่อล่างก็ถูกออกแบบมาให้เสมือนเป็นชิ้นเดียวกัน… Continue reading เจาะรายละเอียด Lapierre Aircode DRS