เปิดตัว: Garmin Vector พาวเวอร์มิเตอร์ติดบันได

เปิดตัวอย่างเป็นทางการสักทีกับพาวเวอร์มิเตอร์แบบติดบันได Garmin Vector หลังจากที่ดีเลย์จนเราคิดว่าโปรเจ็คนี้มันคงไม่รอดซะแล้วหละ พาวเวอร์มิเตอร์แบบติดบันไดดียังไง? ราคาเท่าไร วางขายตอนไหน? มาดูรายละเอียดกันครับ

Pedal based Power Meter?

ก่อนจะพูดถึงตัว Garmin Vector ต้องพูดถึงพาวเวอร์มิเตอร์ประเภทต่างๆ ในตลาดกันก่อนนะครับ ตอนนี้มี 3-4 แบบหลักๆ คือแบบติดกับชุดจานหน้า (crankset) อย่าง SRM แบบติดกับขาจานอย่าง Rotor Power, หรือที่ราคาย่อมเยาว์กว่าหน่อยก็ของ Stage อีกแบบคือพาวเวอร์มิเตอร์ที่ติดดุมหลังอย่าง Powertap และล่าสุดในตลาดตอนนี้ก็คือแบบที่ติดกับบันไดครับซึ่งมี Look รุ่น Keopower ร่วมมือกับ Polar ทำออกมาก่อนเพื่อน

ข้อดีของพาวเวอร์มิเตอร์แบบติดบันไดก็คือ ผู้ใช้สามารถถอดเปลี่ยนไปใช้กับจักรยานประเภทไหนก็ได้ ไม่ต้องคอยถอดทั้งชุดจานหรือขาจาน หรือถอดเปลี่ยนล้อ ครับ สะดวกมากสำหรับคนที่มีจักรยานหลายคัน และราคานั้นย่อมเยาว์กว่า SRM (แต่แพงกว่า Powertap) Garmin วางโพสิชัน Vector ไว้ที่ตรงกลางๆ ของตลาดพาวเวอร์มิเตอร์ ไม่ถูก แต่ก็ไม่แพงจนเกินไป

Garmin Vector

Garmin Vector

 

ด้วยราคาประมาณล้อคาร์บอนขอบสูงยี่ห้อดีๆ หนึ่งคู่ สิ่งที่คุณจะได้ในกล่องก็คือ บันไดหนึ่งคู่และตัวส่งสัญญาณ ANT+ ส่วนคอมพิวเตอร์ head unit นั้นต้องซื้อใช้เองครับ ด้วยความที่มันรองรับระบบ ANT+ คอมพิวเตอร์จักรยานที่รับสัญญาณ ANT+ ได้ก็อ่านค่า Watt ได้เกือบทุกตัว เช่นเดียวกับ GPS ตระกูล EDGE ของ Garmin เอง

ในด้านเทคนิค Vector ฝัง strainguage 8 ตัวในแกนบันไดทั้งสองข้างและส่งสัญญาณไร้สายผ่าน protocol ANT+ ไปยังคอมพิวเตอร์แสดงผล (head unit) ที่รองรับ ANT+ หมายความว่าบันไดทั้งสองตัวนั้นสามารถวัดพลังได้ทั้งคู่ครับ เหมือนมีพาวเวอร์มิเตอร์สองตัว วัดการออกแรงของนักปั่นทั้งขาซ้ายและขาขวา ลักษณะเดียวกับ Rotor Power ถ้าใช้ขอแสดงผลตระกูล EDGE ของ Garmin ก็สามารถโชว์ค่าได้หลายแบบทั้ง พลังจากขาทั้งสองข้าง, หรือจะดูแบบเฉลี่ยกำลังที่ใช้ในระยะสามวินาที, ดู Normalized Power, Intensity Factor และ Training stress score ด้วยก็ได้

Garmin Vector1

ราคาขาย: 1,699 เหรียญสหรัฐ (ราวๆ 53,000 บาท)
วางจำหน่าย: อาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม 2013 (อังกฤษและอเมริกา)
น้ำหนัก: 428 กรัม (รวมคลีทและน๊อต)

 

Garmin อ้างว่าความแม่นยำ (accuracy) และความแน่นอน (repeatability) นั้นเทียบเท่ากับ SRM Powermeter ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นพาวเวอร์มิเตอร์ที่แม่นยำที่สุด และโปรนิยมใช้มากที่สุด ความแม่นยำจะอยู่ในระยะ 2% และอาจจะแม่นยำกว่าพาวเวอร์มิเตอร์ของเจ้าอื่นๆ ที่มักจะรวนเวลาอุณหภูมิเปลี่ยนแปลง Garmin Vector ใช้ silicon strainguages ซึ่งไม่คลาดเคลื่อนเวลาอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงเหมือน foil guages ที่เจ้าอื่นๆ ใช้ และในบันไดแต่ละข้างมีเซนเซอร์อุณหภูมิที่จะคอย calibrate ค่าให้อัตโนตมัติในเวลาที่อุณหภูมิเปลี่ยนเพื่อเพิ่มความแม่นยำ

ในอนาคต Garmin วางแผนที่จะผลิตเวอร์ชันเสือภูเขา MTB และ อาจจะแตกไลน์เป็นรุ่นอื่นๆ ที่ราคาสูงกว่าหรือประหยัดกว่าตัว Vector นี้ก็ได้ ทาง DT ไม่ทราบว่า Garmin ประเทศไทยจะเอามาขายเมื่อไร และราคาเท่าไรนะครับ เพราะเขาพึ่งจะเปิดตัวกันเมื่อเช้านี้เอง ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับคนที่อยากได้ power meter ราคา (เกือบ) ย่อมเยาว์มาครองครับ

รวมรีวิว

Image courtesy of DC Rainmaker
Image courtesy of DC Rainmaker

สื่อต่างประเทศหลายๆ เจ้าเขาก็ได้ทดสอบ Garmin Vector กันอย่างคร่าวๆ แล้วนะครับ ลองไปตามอ่านดูได้ ผมรวบรวมลิงก์มาให้ประมาณหนึ่งแล้วครับ ถ้าอยากอ่านละเอียดๆ แนะนำของ DC Rainmaker เขาเทสต์เทียบกับ powermeter ยี่ห้ออื่นๆ ด้วย

Bikeradar, Garmin Vector power meter pedals – first ride review – ★ ★ ★ ★ ½

Velonews, Unboxed: Garmin re-launches Vector pedal-based power meter

DC Rainmaker, First hands-on look & rides with the Garmin Vector power meter

Technical Specification

Data

  • Total power (watts)
  • Normalised power
  • Intensity factor
  • Training stress score
  • Left/right balance (%)
  • Cadence (rpm)
  • +/-2% accuracy
  • Transmits via ANT+ protocol

System weights

  • Pedals: 305g (pair)
  • Pedal pods: 46g (pair)
  • Cleats and hardware: 77g (pair)
  • Total: 428g

Pedals

  • Lightweight injected carbon fiber body
  • CNC machined, hardened stainless steel spindle
  • LSL bushing and sealed cartridge bearings
  • Adjustable tension binding
  • Look Keo compatible

Pedal pods

  • ANT+ transmitters and cadence measurement via accelerometers
  • User replaceable battery (CR2032 coin cell)
  • 175 hours cycling

Cleats

  • High durability thermoplastic with anti-slip surface pads
  • Rubber button to reduce free float action between shoe and cleat
  • 6 degrees float (0 degrees available as accessory)
  • Look Keo compatible

By เทียนไท สังขพันธานนท์

คูน คือผู้ก่อตั้งดั๊กกิ้งไทเกอร์ และอยากใช้เว็บไซต์นี้ช่วยให้คนไทยอยากขี่จักรยานกันเยอะๆ!

3 comments

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *