เปิดตัว Mavic Cosmic Carbone 40

Mavic ผู้ผลิตล้อจากฝรั่งเศสเปิดตัว ล้อ Mavic Cosmic Carbone 40c ล้อคาร์บอนยางงัดคู่แรกของบริษัท มาดูรายละเอียดกันครับ

Mavic Cosmic Carbone 40 c

Mavic เคยประกาศว่าจะ “ไม่ผลิตล้อคาร์บอนยางงัดเด็ดขาด”  แต่สงสัยจะทนแรงกดดันจากผู้ผลิตล้อเจ้าอื่นๆ ไม่ไหว ไม่ว่าจะเป็น Zipp, Hed, Bontrager, Shimano, Easton, Reynolds ล้วนขายล้อคาร์บอนขอบงัดมาได้หลายปี มาวิคเลยไปซุ่มพัฒนาล้อคาร์บอนยางงัดอย่างเงียบๆ ซึ่งเจ้าล้อคู่นี้ใช้เทคโนโลยีใหม่ครับ เป็นล้อที่ขึ้นรูปด้วยอลูมิเนียมบางๆ แล้วผสานด้วยคาร์บอนอีกที มีแกนข้างในเป็นโฟม ไม่ใช่ล้อคาร์บอน 100% และก็ไม่ใช่คาร์บอนแฟริ่ง (ล้อขอบสูงโครงอลูติดแฟริ่งคาร์บอน อย่าง Cosmic Carbone SLR)

เสป็คล้อคู่นี้หนัก 1,545 กรัม ขอบสูง 40 มิลลิเมตร โปรไฟล์ล้อหน้ากว้างตามเทรนด์เพื่อลดแรงต้านลมข้างและทำให้เกาะถนนดีขึ้นเล็กน้อย ดุมเป็นคาร์บอนผสมอลอย เหมือน Mavic CXR80 ขายพร้อมยาง Ykison Pro (น้ำหนักรวมล้อและยางเป็น 2,085 กรัม) ราคาตั้ง 2,000 ยูโร หรือประมาณ 80,000 บาท O___O

“We have tried many lay-ups, and nothing is up to our expectations for rim track pressure and braking. We are taking a conservative approach to the carbon clinchers, since we feel we already offer wheels that are comparable in weight and aerodynamics with better braking and no threat of delamination from brake heat.”

Maxime Brunand, Mavic Product Manager

Mavic Cosmic Carbone 40
Mavic Cosmic Carbone 40

 

ปัญหาของล้อคาร์บอนยางงัด

เหตุผลที่บริษัทอย่างมาวิคและชิมาโนไม่ยอมผลิดล้อคาร์บอนยางงัดก็เพราะกลัวปัญหาเรื่องความร้อนเวลาเบรค โดยเฉพาะเวลาเราปั่นลงเขา ถ้ากดเบรคแช่อุณหภูมิที่ขอบล้ออาจจะสูงขึ้นถึง 200 องศาเซลเซียส โดยปรกติล้ออลูมิเนียมจะไม่มีปัญหากับความร้อนที่เกิดจากการเบรค แต่สำหรับล้อคาร์บอนขอบงัดที่ใช้เรซิ่นขึ้นรูปจะไม่สามารถทนความร้อนนสูงๆ ได้ซึ่งจะทำให้ขอบล้อเหลวและเสียรูปในที่สุด ไม่ปลอดภัยต่อการใช้ บริษัทใหญ่ๆ อย่าง Zipp และ Bontrager ทุ่มทุนพัฒนาเรซิ่นชนิดใหม่ๆ และผ้าเบรคโพลีเมอร์ที่ใช้กับล้อคาร์บอนขอบงัดโดยเฉพาะ ปัญหาล้อละลายจึงไม่ค่อยมีแล้วในยุคหลังๆ แต่บริษัทมาวิคไม่ได้เชี่ยวชาญการพัฒนาคาร์บอนและเรซิ่นเหมือนอย่างเจ้าอื่นๆ จึงใช้ความเชี่ยวชาญการใช้อลูมิเนียมเพื่อพัฒนาล้อรุ่นใหม่ครับ

ความต่างของล้อยางงัดและยางฮาฟ - ถึงแม้ล้อยางฮาฟจะได้รับความร้อนพอๆ กับล้อยางงัดเวลาเบรค แต่โดยโครงสร้างแล้ว โครงล้อยางฮาฟมีลักษณะเปิดกว้างสอดรับกับยางซึ่งจะช่วยกระจายความร้อนและแรงกดไปทั่วทั้งโครงทำให้เรซิ่นไม่หลอมละลายง่ายๆ ในขณะที่ล้อยางงัด (รูปขวา) ต้องขึ้นโครงล้อให้มี Sidewall (ขอบกำแพงที่นูนขึ้นมาทั้งสองข้าง) เพื่อรับประกบยาง หมายความว่าแรงดันทั้งหมดจะตกอยู่ที่ sidewall จุดเดียว แรงดันกับความร้อนที่เกิดจากการเบรคทำให้เรซิ่นที่ขึ้นล้อคาร์บอนหลอมละลายได้ง่าย
ความต่างของล้อยางงัดและยางฮาฟ – ถึงแม้ล้อยางฮาฟจะได้รับความร้อนพอๆ กับล้อยางงัดเวลาเบรค แต่โดยโครงสร้างแล้ว โครงล้อยางฮาฟมีลักษณะเปิดกว้างสอดรับกับยางซึ่งจะช่วยกระจายความร้อนและแรงกดไปทั่วทั้งโครงทำให้เรซิ่นไม่หลอมละลายง่ายๆ ในขณะที่ล้อยางงัด (รูปขวา) ต้องขึ้นโครงล้อให้มี Sidewall (ขอบกำแพงที่นูนขึ้นมาทั้งสองข้าง) เพื่อรับประกบยาง หมายความว่าแรงดันทั้งหมดจะตกอยู่ที่ sidewall จุดเดียว แรงดันกับความร้อนที่เกิดจากการเบรคทำให้เรซิ่นที่ขึ้นล้อคาร์บอนหลอมละลายได้ง่าย

 

Alloy-Carbon ฟิวชัน

วิธีการผลิตล้อ Cosmic Carbone 40 คือขึ้นรูปโครงล้อด้วยอลูมิเนียมก่อน แล้วใช้สารเคมีพิเศษเชื่อมคาร์บอนเข้ากับโครงล้อ มาวิคอ้างงว่าสารเคมีพิเศษตัวนี้ใช้เวลาผลิตและทดลองหลายปี ยิ่งใช้ไปนานเข้าก็จะยิ่งเชื่อมกันได้ดียิ่งขึ้น ดีกว่าล้อรุ่นก่อนๆ ที่ใช้แค่กาวเชื่อม ขอบล้อส่วนที่สัมผัสกับเบรคใช้สารเคลือบพิเศษเพื่อให้ทนความร้อนได้ดีขึ้น มาวิคอ้างว่าเบรคได้ดีกว่าล้ออลูมิเนียมทั้งในสภาพถนนเปียกและแห้ง (เว่อร์ไปหรือเปล่า? อันนี้ต้องไปลองกันเองครับ) ทางเว็บ Bikeradar เขาได้ทดลองใช้เป็นระยะเวลาสั้นๆ รายงานว่าเบรคได้ดีอย่างที่บอกไม่แพ้ล้อ Zipp Firecrest น้ำหนักเบาใช้ได้ ออกตัวเร่งได้ดี stiff เหมือนล้อ Ksyrium แต่คงต้องทดสอบมากกว่านี้จึงจะสรุปได้ว่าเจ๋งอย่างที่มาวิคโม้ไว้หรือเปล่า

mavic5

mavic4
โครงสร้างล้อ Cosmic Carbone 40 – โครงล้อทำจากอลูมิเนียมบางๆ และเอาแผ่นคาร์บอนมาประกบอีกที มีแกนเป็นโฟม

By เทียนไท สังขพันธานนท์

คูน คือผู้ก่อตั้งดั๊กกิ้งไทเกอร์ และอยากใช้เว็บไซต์นี้ช่วยให้คนไทยอยากขี่จักรยานกันเยอะๆ!

3 comments

  1. 80000 ราคาเอาเรื่ิองเหมือนกันนะนี่ คุณภาพคงจะคุ้มราคาเหมือล้อรุ่นอื่นๆของเค้านะ

    1. ราคาตั้งเมืองนอก 80,000 ผมว่าบ้านเราคงขายถูกกว่าพอสมควร ราคาชน Zipp, Hed เลย

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *