สรุปผล National Championship

ในที่สุดเราก็ได้ผลการแข่งขันชิงแชมป์จักรยานถนนและ Time Trial ของแต่ละประเทศครบแล้วครับ มาดูกันว่าปีนี้เสื้อแชมป์เปลี่ยนมือไปที่ใครบ้าง!

Road Race Time Trial
Australia Simon Gerrans (Orica-Greenedge) Michael Hepburn (Orica-GreenEdge)
Austria Riccardo Zoidl (Trek Factory Racing) Matthias Brändle (IAM)
Belgium Jens Debusschere (Lotto-Belisol) Kristof Vandewalle (Trek Factory Racing)
Belarus Yauheni Hutarovich (Ag2r La Mondiale) Kanstantsin Sivtsov (Sky)
Canada Svein Tuft (Orica-Greenedge) Svein Tuft (Orica-Greenedge)
Colombia Miguel Rubiano (Team Colombia) Pedro Herrera
Croatia Radoslav Rogina (Adria Mobile) Bruno Maltar (Adria Mobil)
Czech Zdeněk Štybar (OPQS) Jan Bárta (Netapp-Endura)
Denmark Michael Valgren (Team Tinkoff-Saxo) Rasmus Quaade (TreFor-Blue Water)
Ethiopia Tsgabu Grmay (MTN-Qhubeka) Tsgabu Grmay (MTN-Qhubeka)
Finland Jussi Veikkanen (FDJ.fr) Samuel Pökälä
France Arnaud Démare (FDJ.fr) Sylvain Chavanel (IAM Cycling)
Germany André Greipel (Lotto-Belisol) Tony Martin (OPQS)
Great Britain Peter Kennaugh (Team Sky) Bradley Wiggins (Sky)
Italy Vincenzo Nibali (Astana) Adriano Malori (Movistar)
Japan Sano Junya (Nasu Blasen) Fumiyuki Beppu (Trek Factory Racing)
Kazakhstan Ilya Davidenok (Astana Continental) Daniil Fominykh (Astana)
Latvia Andris Voskelans (Rietumu-Delfin) Gatis Smukulis (Katusha)
Lithuania Paulius Šiškevičius (Sojasun Espoir-ACNC) Ramūnas Navardauskas (Garmin-Sharp)
Luxembourg Fränk Schleck (Trek Factory Racing) Laurent Didier (Trek Factory Racing)
Netherlands Sebastian Langeveld (Garmin-Sharp) Tom Dumoulin (Giant-Shimano)
New Zealand Hayden Roulston (Trek Factory Racing) Taylor Gunman (Avanti Racing)
Norway Tormud Jacobsen (Team Oster Hus – Ridley) Reidar Borgersen (Team Joker)
Poland Bartłomiej Matysiak (CCC-Polsat) Michał Kwiatkowski (OPQS)
Portugal Oliveira Nelson (Lampre-Merida) Oliveira Nelson (Lampre-Merida)
Russia Vladimir Porsev (Katusha) Anton Vorobyev (Katusha)
Rwanda Valens Ndayisenga
Slovakia Peter Sagan (Cannondale) Peter Velits (BMC)
South Africa Louis Meintjes (MTN-Qhubeka) Daryl Impey (Orica-GreenEdge)
Spain Ion Izaguirre (Movistar) Alejandro Valverde (Movistar)
Switzerland Martin Elmiger (IAM Cycling) Fabian Cancellara (Trek Factory Racing)
USA Eric Marcotte (SmartStop) Taylor Phinney (BMC Racing Team)

เช็คแชมป์ประเทศที่ DT ไม่ได้ลงในตารางได้ที่ Wikipedia


 

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย

  • ประเทศไทยไม่มีการแข่งขันชิงแขมป์ของประเทศแบบที่เราเห็นกันในยุโรป ไทยใช้การเก็บคะแนนจากสนามชิงแชมป์ประเทศไทยหลายสนามรวมกันซึ่งมีการแข่งขันตลอดทั้งปีและแบ่งเป็นรุ่นอายุ
  • ชิงแชมป์อังกฤษดุเดือดมาก! (ดูวิดีโอไฮไลท์ข้างล่าง) เป็นการชิงกันระหว่างสองพี่น้องเยทส์ (อดัมและฌอน) กับทีม Sky ทั้งทีม! (เกอเรนท์ โทมัส,  เบน สวิฟต์ และพีท เคนนอห์) แต่ด้วยประสบการณ์เจนสนามกว่าของ Sky ทำให้พีท เคนนอห์และเบน สวิฟต์ ผลัดกันโจมตีจนเยทส์หลุดกลุ่ม สุดท้ายเป็นการชิงกันหน้าเส้นชัยระหว่างเคนนหอ์ และสวิฟต์ เป็นอันว่าเสื้อแชมป์อังกฤษยังคงอยู่ในทีม Sky ครับ
  • แชมป์เบลเยียมก็เดือดไม่แพ้กัน เป็นการไฟท์กันระหว่างทีม OPQS และ Lotto​​ ซึ่งบอส OPQS สั่งให้ทีมปั่นให้เกิรท์ สตีกแมน (ลีดเอาท์ของโบเนนและคาเวนดิช) ซึ่งหลุดไปอยู่ในกลุ่มเบรคอเวย์ รวมกับเซป ฟานมาร์ค (Belkin) และคริส โบคแมน (Lotto) แต่ปั่นไปได้ครึ่งทางบอส OPQS เริ่มกลัวว่าสตีกแมนจะไม่รอด เลยบอกให้ทีมไล่จับเบรคเพื่อเตรียมลีดเอาท์ให้โบเนน! สรุปที่หน้าเส้นชัยโบเนนตำแหน่งไม่ดีสปรินต์ทวนลมพ่ายให้เจนส์ เดอบูเชียร์ (Lotto) สวนคว้าแชมป์ไป หลังการแข่งสตีกแมนรู้สึกว่าโดนทีมหักหลัง ทั้งไม่ได้ลงตูร์ เดอ ฟรองซ์แล้วยังโดนทีมไล่จับอดได้แชมป์ประเทศไปอีก เศร้า!
  • ส่วนของฝรั่งเศสนั้นก็สุดไม่แพ้กัน FDJ จัดทีมลงสนาม 27 แล้วปล่อยให้อาร์นอด เดอแมร์, เนเซอร์ บูอานี (แชมป์ 2013) และอาเธอร์ วิโชต์ (แชมป์ 2012) สู้กันเองตามสไตล์ May the best man win แบบไม่ต้องจัดทีมสู้กับทีมอื่นๆ เลย
  • เห็นกลยุทธ์ที่เล่าข้างบนแล้วอาจจะงงๆ ว่าทำไมโปรทีมเข้ามายุ่งกับกลยุทธ์การแข่งด้วย? การแข่งชิงแชมป์ประเทศนั้นเป็นการแข่งแบบบุคคลครับ แต่ว่าโปรที่มีสัญญากับทีมต้นสังกัดก็ต้องใส่เสื้อทีมลงแข่ง ประเทศใหญ่ๆ อย่างเบลเยียม ฝรั่งเศส อิตาลี มีโปรทีมหลายทีม ซึ่งโดยปกติแล้วนักปั่นนั้นให้ความสำคัญกับทีมต้นสังกัดมากกว่าสมาคมจักรยานของประเทศตัวเอง (ก็แหงสิ เพราะทีมต้นสังกัดจ่ายเงินเดือนคุณนี่นา) จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่การแข่งในประเทศเหล่านี้จะเป็นการสู้กันระหว่างโปรทีมด้วยกันเองเช่น Lotto vs OPQS vs Belkin / OGE vs Sky / FDJ vs Cofidis ทีมไม่แคร์ว่าใครจะได้แชมป์ประเทศ ขอให้แชมป์อยู่ในทีมของตัวเองก็พอ
  • ส่วนนักปั่นที่ได้แชมป์ประเทศนั้นก็มีสิทธิได้ขึ้นเงินเดือน และแน่นอนว่าเป็นที่รู้จักมากขึ้นเพราะเสื้อที่ใช้แข่งเด่นไม่เหมือนใคร
  • แชมป์ Road Race ใส่เสื้อแชมป์ได้เฉพาะในรายการ Road Race จะใส่ใน Time Trial ไม่ได้ แชมป์ Time Trial ก็เหมือนกัน
  • ปีเตอร์ ซากานยังคงเป็นแชมป์สโลวาเกีย :)
  • มาร์ค คาเวนดิชป่วยเลยไม่ได้ป้องกันแชมป์อังกฤษ
  • ทีมที่ได้เสื้อแชมป์เยอะที่สุด (รวม TT ด้วย) คือ Trek Factory Racing เก็บไปทั้งหมด 7 แชมป์! ที่สองเป็น Orica-GreenEdge 5 แชมป์, ที่เหลือ Movistar, OPQS, Katusha, Astana ได้ไปทีมละ 3 แชมป์ 
  • แคนเชอลาราเป็นแชมป์ TT สวิสต่อกัน 7 สมัย…. what a monster!
  • โทนี มาร์ตินให้สัมภาษณ์ว่าเขาปั่นหลงทางในการแข่งชิงแชมป์ TT หลงไปร่วม 50 วินาที แต่สุดก็วนกลับมาจนถูกทางแล้วยังเอาชนะที่สองไปได้เกือบนาทีเต็ม! นี่ก็ยอดมนุษย์อีกคน….
  • ตัวเต็ง TT รุ่นใหม่เริ่มขยับขึ้นมามีผลงานบ้างแล้วอดริอาโน มาลอรี (Movistar) ที่เคยชนะแคนเชอลาราเมื่อต้นปีก็ได้แชมป์ TT สเปน, เควียททอฟสกีเสียแชมป์ Road Race โปแลนด์แต่ได้แชมป์ TT แทน และทอม ดูโมลิน (Giant) ที่พ่ายให้โทนี มาร์ตินใน Tour de Suisse ก็ได้แชมป์ TT ประเทศ​เนเธอร์แลนด์

วิดีโอไฮไลท์

1.อังกฤษ – HD

2. เยอรมัน – HD

3. อิตาลี

Published
Categorized as Racing

By เทียนไท สังขพันธานนท์

คูน คือผู้ก่อตั้งดั๊กกิ้งไทเกอร์ และอยากใช้เว็บไซต์นี้ช่วยให้คนไทยอยากขี่จักรยานกันเยอะๆ!

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *