Paris-Roubaix: The Preview

[vc_row el_position=”first”] [vc_column] [vc_column_text el_position=”first”]

ด้วยฉายาอย่าง “Hell of the North (นรกทางตอนเหนือ)”, “Queen of the Classics (ราชินีแห่งสนามคลาสสิค)” และ “Sunday in Hell (วันอาทิตย์ในนรก)” ยากที่จะคัดค้านว่า Paris-Roubaix คือสนามแข่งที่หินที่สุดในปฏิทินการแข่งขันครับ วันนี้เรามาดูความเป็นมา โปรไฟล์เสตจ วิเคราะห์ตัวเต็งการแข่งกัน!

Paris-Roubaix

ออกเสียง: พารี-รูเบ
ชื่อเล่น: Hell of the North, Queen of the Classics, Sunday in Hell
วันแข่ง: 7 เมษายน
ระยะทาง: 254 กิโลเมตร
UCI Rating: UCI World Tour (Classic Momument)
รางวัลผู้ชนะ: หินหนึ่งก้อน, เงินสด 30,000 ยูโร (ประมาณ 1,200,000 บาท)
ถ่ายทอดสด: Eurosport 18:00-22:00 หรือชมผ่านกล่อง GMM และ Thai Tune App ผ่าน iPhone/iPad หรือ ถ่ายทอดสดผ่านอินเตอร์เน็ต

[/vc_column_text] [vc_separator el_position=”last”] [/vc_column] [/vc_row] [vc_row] [vc_column width=”1/2″] [vc_column_text el_position=”first last”]

ความเป็นมา | The History

ผมเขียนถึงประวัติศาสตร์ของสนามแข่งเกียรติยศรายการนี้ไว้ในโพสต์นี้เมื่อวันก่อน ว่ากันอย่างสั้นๆ Paris-Roubaix เริ่มแข่งมาตั้งแต่ปี 1896 ถ้านับปีนี้ก็ถือว่าจัดแข่งมาแล้ว 111 ครั้ง หยุดจัดไปแค่สองครั้งเพราะสงครามโลก เป็นหนึ่งในห้าสนามแข่งที่ได้รับสมยานาม “Monument” ซึ่งถือว่ายิ่งใหญ่และมีเกียรติยศสูงสุดเมื่อเทียบกับสนามแข่งอื่นๆ ในรอบปี นักปั่นชาวเบลเยี่ยมคว้าแชมป์รายการนี้มากที่สุดถึง 55 สมัย ส่วนชาวฝรั่งเศสเจ้าบ้านได้ไป 22 สมัย Roger de Vlaeminck และ Tom Boonen ชาวเบลเยี่ยมทั้งคู่ ถือสถิติแชมป์สูงสุดสี่สมัย รองลงมาเป็น Francesso Moser, Eddy Merckx, และ Johan Museeuw สามสมัย ถ้า Fabian Cancellara คว้าชัยในวันพรุ่งนี้ก็จะได้แชมป์เป็นสมัยที่สาม เทียบเท่ากับตำนานนักปั่นชื่อดังครับ

[/vc_column_text] [/vc_column] [vc_column width=”1/2″] [vc_column_text el_position=”first last”]

hell-of-the-north-retro-cycling-illustration-poster-sassan-filsoof

[/vc_column_text] [/vc_column] [/vc_row] [vc_row] [vc_column] [vc_separator el_position=”first”] [vc_column_text]

 

Paris_Roubaix_Profile

[/vc_column_text] [vc_column_text]

เส้นทาง | The Route

ถึงแม้ชื่อสนามแข่งจะเรียกว่า Paris-Roubaix แต่ไม่ได้เริ่มสตาร์ทกันที่เมืองปารีสเหมือนสมัยก่อนครับ เราจะเริ่มกันที่เมือง Compiegn ซึ่งใช้สตาร์ทมาตั้งแต่ปี 1968 อยู่ห่างกรุงปารีสไป 80 กิโลเมตร สภาพเส้นทางส่วนใหญ่ค่อนข้างราบเรียบตามภูมิประเทศฝรั่งเศสตอนเหนือ แต่ 100 กิโลเมตรแรกนักปั่นต้องขึ้นเนินบ้างเล็กน้อย ไม่ชัน ไม่ยาว แต่ก็ตัดกำลังได้ดี ช่วงถนนหินโบราณ​ซึ่งเป็นไฮไลท์ของการแข่ง (Cobbled road) จะเริ่มที่ กม. 98.5 และมีทั้งหมด 27 ช่วง เล่นกันก้นระบมเลยทีเดียว ช่วงถนนหินทั้งหมดจะมีเกรดบอกระดับความยาก แทนด้วยเครื่องหมาย + หรือ ★ ครับ ดาวเยอะก็ยาก ความยากคือสภาพเส้นทาง ยากมากก็ขรุขระมาก ขี่ยาก และเสี่ยงต่อยางรั่ว หรืออุบัติเหตุ สำหรับคนที่ไม่ทราบ ถนนหินโบราณสร้างมาตั้งแต่ช่วงปี 1400 เพื่อใช้เป็นเส้นทางการขนส่งและทำมาค้าขายของคนสมัยก่อน ปัจจุบันถนนหินโบราณส่วนใหญ่ใช้เป็นเส้นทางการเกษตรให้พวกรถแทรคเตอร์หรือรถบรรทุก รวมไปถึงสัตว์เลี้ยงอย่างโคนมเดินทาง ไม่ใช้กับรถยนต์ครับ เพราะอาจจะทำช่วงล่างพังเอาได้ง่ายๆ

[/vc_column_text] [vc_single_image image=”3458″ img_size=”full” img_link_target=”_self”] [vc_separator el_position=”last”] [/vc_column] [/vc_row] [vc_row] [vc_column width=”1/2″] [vc_column_text el_position=”first last”]

The Cobble | ถนนหินนรก

แน่นอนแผนการของทีมตัวเต็งส่วนใหญ่คือขึ้นไปอยู่หน้าขบวนก่อนที่จะเข้าสู่ช่วงถนนหิน เพราะถนนหินค่อนข้างแคบ อย่างมากก็กว้างไม่เกิน 2-3 เมตร ถ้าเกิดมีอุบัติเหตุ มีนักปั่นล้ม ตัวเต็งที่อยู่ข้างหลังก็หมดสิทธิแซงขึ้นไป เสียเวลาและอาจจะเสียโอกาศคว้าแชมป์รายการด้วย เพราะฉะนั้นนักปั่นจะแข่งกันเข้าช่วงถนนหินอย่างดุเดือดครับ บางทีอาจจะเป็นการแข่งสปรินต์กันแบบย่อยๆ เลย ใครเข้าก่อนก็มีสิทธิก่อน

Paris-Roubaix อาจจะใช้ถนนหินเหมือนสนามคลาสสิครายการอื่นๆ แต่มันมีเหตุผลว่าทำไมที่นี่ถึงโหดกว่าสนามอื่นๆ ครับ โดยเฉพาะช่วงที่ได้เรตติ้ง 5 ดาวนี่นอกจากก้อนหินจะเรียงห่างกันแล้ว ยังมีขนาดใหญ่และไม่ค่อยจะราบเรียบ กระเทือนไปถึงไส้ ถึงสมองกันเลย ที่สำคัญถนนหินพวกนี้ใช้มาอย่างน้อยห้าหกร้อยปี ผ่านเกือกมา เกวียน วัวควายมานับไม่ถ้วน เคยเห็นหินขัดมั้ยครับ? มันลื่นปรื๊ดๆ เลย ถนนหินพวกนี้ก็เหมือนกัน ลื่นมาก ถ้าเผลอลงน้ำหนักผิดก็อาจจะคว่ำหัวกระแทกเอาง่ายๆ นักปั่นหลายๆ คนเลือกจะลงไปปั่นในคูข้างๆ ถนนหิน แต่ก็ต้องเสี่ยงลื่นโคลน หรืออาจจะเจอเศษหินเศษแก้วเจาะยางรั่วได้อีก นอกจากนี้การปั่นข้ามถนนหินมีผลเสียกับร่างกายค่อนข้างมาก ยอดหมอนักโด๊ปนามฉาวโฉ่ Michele Ferrari อธิบายง่ายๆ ว่า

“ถนนหิน (Pave) ในการแข่ง Paris-Roubaix ยาวกว่า 51,000 เมตร ซึ่งซอยย่อยเป็นหินห้าถึงหกก้อนต่อหนึ่งเมตร เปรียบเสมือนค้อนทุบขานักปั่น ถ้าปั่นด้วยความเร็ว 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หมายความว่านักปั่นจะต้องเจอแรงกระแทกอย่างน้อย 10/12 ครั้งต่อวินาที ส่งผลให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานได้แย่ลง หลอดเลือดมีวาวล์ส่งกระแสเลือดแบบทางเดียว ถ้าเจอแรงสั่นกระเทือนก็จะทำให้เลือดไหลเวียนได้ยาก ประสิทธิภาพการปั่นก็จะแย่ลงเพราะร่างกายส่งอ๊อกซิเจนไปเลี้ยงไม่ทัน และยังทำให้คอ แขน ขา ข้อมือ ร้าวระบมหลังการแข่งไปร่วมหนึ่งเดือน”

Bernard Hinault อดีตตำนานนักปั่นชาวฝรั่งเศสถึงกับออกปากว่า

“Course de connerie” – “A bullshit race”

[/vc_column_text] [/vc_column] [vc_column width=”1/2″] [vc_column_text el_position=”first last”]

The Cobble Sectors

Sector Distance Location Length Difficulty rating
27 98.5km Troisvilles 2200m +++
26 105km Viesly 1800m +++
25 107.5km Quievy 3700m ++++
24 112.5km Saint-Python 1500m ++
23 120km Vertain 2300m +++
22 130km Verchain – Maugré 1600m +++
21 133km Quérénaing – Maing 2500m +++
20 136.5km Monchaux-sur-Ecaillon 1600m +++
19 149.5km Haveluy 2500m ++++
18 158km Trouée d’Arenberg 2400m +++++
17 164km Wallers – Hélesmes, aka “Pont Gibus” 1400m +++
16 170.5km Hornaing 3700m ++++
15 178km Warlaing – Brillon 2400m +++
14 181.5km Tilloy – Sars-et-Rosières 2400m ++++
13 188km Beuvry-la-Forêt – Orchies 1400m +++
12 193km Orchies 1700m +++
11 199km Auchy-lez-Orchies – Bersée 2600m ++++
10 205km Mons-en-Pévèle 3000m +++++
9 211km Mérignies – Avelin 700m ++
8 214.5km Pont-Thibaut 1400m +++
7 220.5km Templeuve – Moulin de Vertain 500m ++
6 227km Cysoing – Bourghelles 1300m ++++
6b 229.6km Bourghelles – Wannehain 1100m +++
5 234km Camphin-en-Pévèle 1800m ++++
4 236.5km Le Carrefour de l’Arbre 2100m +++++
3 239km Gruson 1100m ++
2 246km Hern 1400m ++
1 256.5km Roubaix 300m +

[/vc_column_text] [/vc_column] [/vc_row] [vc_row] [vc_column] [vc_separator el_position=”first”] [vc_video link=”http://www.youtube.com/watch?v=Zx9Rdsjr0fY”] [vc_separator el_position=”last”] [/vc_column] [/vc_row] [vc_row] [vc_column width=”1/2″] [vc_column_text el_position=”first”]

ตัวเต็ง | The Contenders

1. Fabian Cancellara (Radioshack) ★★★★★
Tour of Flanders อาทิตย์ที่แล้ว อาจจะเป็นศึก Fabian Cancellara ปะทะ Peter Sagan แต่วันพรุ่งนี้ Sagan ไม่ได้ลงแข่งด้วย ก็หมายความว่าเป็น Cancellara ปะทะ ทุกๆ คนครับ! ทุกทีมคงหมายหัว Cancellara และทำทุกวิถีทางเพื่อตัดกำลังแก นักปั่นหลายคนคงหวังหมกล้อ Cancellara ไปจนถึงเส้นชัย แต่เส้นทางหินโบราณน่าจะเข้าข้าง Cancellara ไม่น้อย หนึ่งหละเพราะว่านักปั่นคนอื่นก็ต้องตั้งใจมองถนน ขี่บนถนนหินนี่ยากและต้องใช้สมาธิสูง จะเฝ้าเกาะล้อลุงแคนคงไม่ง่ายนัก ประการที่สอง บนถนนหินนักปั่นจะใช้ความเร็วไม่สูงมาก พลังงานส่วนใหญ่ใช้ปั่นข้ามก้อนหิน ไม่ได้ใช้แหวกลมเหมือนบนถนนเรียบๆ เพราะฉะนั้นถ้า Cancellara เร่งเครื่องเปิดเกมโจมตีคู่ต่อสู้ก็จะตามเกาะล้อได้ยากมากครับ ถึงแม้ Cancellara จะล้มไปสองทีเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว แต่ก็ยังเป็นตัวเต็งระดับพระกาฬ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคู่แข่งตัวฉกาจอย่าง Tom Boonen และ Peter Sagan ไม่เข้าแข่งด้วย

2. ทีม Omega Pharma-Quickstep ★★★
เมื่อหัวหน้าทีม Tom Boonen ไม่ได้แข่ง ทีมเจ้าพ่่อสนามคลาสสิคคงต้องหาแผนสอง ซึ่งก็มีหลายคนเลยครับ ไม่ว่าจะเป็นนักปั่นสายโจมตีอย่าง Sylvain Chavanel ★★★ ที่ดูจะแรงดีกว่า Boonen เสียอีกในศึก Flanders หรือ Stijn Vanderberg ★★ และ Nicki Tepstra ★★ ก็น่าจะพอถูไถเกาะกลุ่มนำได้ สองคนหลังนี่อาจจะเครื่องดีเซล ระเบิดพลังไม่ได้เหมือน Chavanel แต่ทักษะการขี่สนามคลาสสิคถือว่าไม่เป็นรองใคร

3. ทีม Sky ★★★
ปีที่แล้ว ผจก ทีม Sky David Brailsford บอกว่าผลงานทีม Sky ในสนามคลาสสิคนั้นเข้าขั้น “ห่วยแตก (เขาใช้คำว่า shit)” ปีนี้น่าจะดีกว่าหน่อยเพราะปรับแผนการซ้อมใหม่ มีนักปั่นโชว์ฟอร์มหลายคนทั้ง Ian Stanard ★★★ ที่โชว์ความกล้าบ้าบิ่นและความสามารถในการอ่านเกมคู่ต่อสู้ช่วงสุดท้ายในศึก Milan-Sanremo และ Edvald Boassan Hagen ★★ ที่พอจะตามตัวเต็งไหวใน Flanders แผนการวันอาทิตย์นี้ Sky ให้สัมภาษณ์ว่าจะใช้จำนวนเข้าสู่ กดดัน Cancellara จนลุงแกหมดก๊อก (จะไหวเรอะ!?) เรื่องความสามัคคี ทีม Sky ไม่แพ้ใคร แต่ถ้าเจอสนามสุดโหดอย่าง Roubaix เราก็ต้องดูกันว่าจะเหลือนักปั่นมากดดันตัวเต็งจนถึงกิโลเมตรสุดท้ายหรือเปล่า

4. ทีม BMC ★★★
BMC เป็นอีกทีมยักษ์ที่ทุนหนาแต่ผลงานดูไม่ค่อยจะเหมาะกับค่าตัวนักปั่นเท่าไร ปีนี้คงเป็น Taylor Phinney ★★★ ที่มีโอกาศลุ้นที่สุด เพราะน้องแกเคยชนะ Paris-Roubaix ระดับเยาวชนต่ำกว่า 23 ปีมาแล้วสองสมัย แถมยังโชว์พลังใจปั่นเดี่ยวกลางฝนสี่ชั่วโมงใน Tierrano-Adriatico และติด top 10 ใน Milan- Sanremo ส่วนเทพสายฟ้า Thor Hushovd ★★ ดูเหมือนว่าฟอร์มไม่มาและมีปัญหาหายใจติดขัด อาจจะหวังอะไรมากไม่ได้ แผนสำรองคือ Greg Van Avamert ★★★ ที่ติดท๊อป 10 คลาสสิคหลายรายการครับ

5. ม้ามืด

Jurgen Roelandts ★★★ จาก Lotto Belisol พึ่งขึ้นโพเดียมสนามเล็กๆ ไปและทีม Lotto ดูจะใช้สมองทำเกมเยอะที่สุดเมื่อเทียบกับทีมอื่นดูจากผลงานใน Flanders น่าจะเป็นกำลังเสริมที่ดีสำหรับ Roelandts ครับ ถ้าแกตามล้อตัวเต็งได้ ก็มีสิทธิลุ้น Lars Boom ★★ จาก Blanco ก็ฟอร์มดี คนนี้ได้ที่ 6 Roubaix ปีที่แล้ว มีทักษะการปั่นคล้ายๆ Cancellara เสียด้วย อีกคน Heinrich Hausler ★★★ จาก IAM ก็โชว์เสต็ปลากทั้ง peloton ใน Flanders น่าเสียดายที่ใช้แรงมากกว่าสมองเลยไม่ติดโพเดียม Alexander Kristoff ★★ (Katusha), John Degenkolb ★★ (Argos-Shimano), Yoann Offredo ★★ (FDJ), Matthieu Ladagnous ★★ (FDJ), Sebastian Turgot ★★ (FDJ) และ Johan Van Summeren ★★ (Garmin-Sharp) แชมป์เก่าปี 2011 มีสิทธิลุ้นทุกคน

Ducking Tiger Winner Pick

แชมป์​ Fabian Cancellara (Radioshack)
อันดับสอง Taylor Phinney (BMC)
อันดับสาม Ian Stanard (Sky)

[/vc_column_text] [vc_separator el_position=”last”] [/vc_column] [vc_column width=”1/2″] [vc_column_text el_position=”first”]

The Cancellara Problem

โจทย์ยักษ์ของทุกทีมคือจะเอาชนะ Cancellara ได้อย่างไร อาทิตย์ที่แล้วใน Flanders ทีม Radioshack ปิดเกมทีมอื่นได้อย่างหมดจด ขึ้นนำตลอดและไล่เก็บ breakaway เกลี้ยง ถ้าทีมอื่นปล่อยให้ Cancellara ขึ้นหนีได้ในช่วง 50 กม สุดท้ายก็ game over ครับ เพราะงั้นทางออกเดียวคืออย่าให้ Cancellara ขึ้นนำ ส่งตัวเต็งยิงหนีไปเลยตั้งแต่ช่วงแรกๆ ทำระยะห่างให้ได้มากที่สุด ถ้าหนีไม่ได้ก็ต้องตามล้อแกอย่าให้หลุด ถ้าเกาะไปสปรินต์กันหน้าเส้นได้ก็มีสิทธิชนะเพราะอย่างที่เรารู้กัน Cancellara สปรินต์ได้ไม่ดีเท่าไร

2013 Roubaix Recon - Cautious Cancellara

ศึก Roubaix นั้นนิยมนักปั่นที่เปิดเกมหนีแต่เนิ่นๆ ด้วยสภาพถนนสุดโหด ทำให้คู่แข่งขี่ไล่ตามได้ยากครับ ถ้าหนีได้ถูกจังหวะส่วนใหญ่ก็หายลับเข้าเส้นชัยไปเลยดูได้อย่าง Stuart O Grady และ Johan Van Summeren เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา

พยากรณ์อากาศรายงานอุณหภูมิ 9 องศาโดยเฉลี่ย มีลมจากทิศอิสานเล็กน้อย ฝนไม่ตก หมายความว่าฝุ่นเยอะแน่ๆ

[/vc_column_text] [vc_separator] [vc_column_text]

“It’s bollocks this race! You’re working like an animal—you don’t have time to piss! You wet your pants. You’re riding in mud like this, you’re slipping—it’s a piece of shit” – Theo de Rooy

[/vc_column_text] [vc_separator] [vc_column_text el_position=”last”]

รางวัลผู้ชนะ | The Prize

นอกจากรอยจูบจากสาวโพเดี้ยม แชมเปน และเงินรางวัล 30,000 ยูโร ผู้ชนะรายการจะได้รับหินโบราณหนึ่งก้อนครับ มันคือหินที่นักปั่นต้องเผชิญในการแข่งขัน ไม่ใช่ถ้วยเหล็กหรือทองคำอย่างรายการอื่นๆ ก้อนหิน Cobblestone เป็นสัญลักษณ์สะท้อนความแข็งแกร่งและแรงใจกล้าประดุจก้อนหิน รางวัลที่สุดแสนจะสมถะเช่นเดียวกับพื้นหลังของกีฬาจักรยานทางไกล

Cycling : Paris - Roubaix 2011

[/vc_column_text] [/vc_column] [/vc_row] [vc_row] [vc_column width=”1/2″] [vc_column_text el_position=”first last”]

poster-hell-of-the-north

[/vc_column_text] [/vc_column] [vc_column width=”1/2″] [vc_column_text el_position=”first last”]

บรรยายการแข่งสดผ่านหน้าเว็บ Ducking Tiger | Liveblog

ตามธรรมเนียมรายการแข่งสนามใหญ่ Ducking Tiger จะมีบรรยายการแข่งแบบสดๆ ควบคู่ไปกับการถ่ายทอดาดจากช่อง Eurosport เราจะเริ่ม Liveblog จากเวลาประมาณ 19.45 คืนนี้ไปจนจบการแข่งขันครับ เราจะบรรยายเกมการแข่งขัน แทคทิค แบคเกราด์นักปั่นที่น่าสนใจ และแน่นอนจะมีห้องสนทนาให้เข้ามาคุแลกเปลี่ยนและเชียร์นักปั่นในดวงในไปพร้อมๆ กัน อาทิตย์ที่แล้วแอดมินติดธุระฉุกเฉินเลยไม่สามารถ liveblog Tour of Flanders ได้แต่วันนี้ไม่พลาดแน่นอนครับ แล้วเข้ามาคุยกันเย็นนี้!

[/vc_column_text] [/vc_column] [/vc_row] [vc_row] [vc_column] [vc_column_text el_position=”first”]

883711_10151567815079873_724625825_o

PIC271565745

Belgium's Boonen rides over a cobblestoned section of the Paris-Roubaix cycling classic in northern France

2013 Roubaix Recon - Pressure check

Cor Vos Archives

883669_511009168934851_624448953_o

[/vc_column_text] [vc_separator el_position=”last”] [/vc_column] [/vc_row] [vc_row el_position=”last”] [vc_column] [vc_button title=”Roubaix History” href=”http://en.wikipedia.org/wiki/Paris%E2%80%93Roubaix” color=”btn-success” size=”wpb_regularsize” icon=”none” target=”_self” el_position=”first”] [vc_separator el_position=”last”] [/vc_column] [/vc_row]

By เทียนไท สังขพันธานนท์

คูน คือผู้ก่อตั้งดั๊กกิ้งไทเกอร์ และอยากใช้เว็บไซต์นี้ช่วยให้คนไทยอยากขี่จักรยานกันเยอะๆ!

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *