Bike Spot: Giant TCR Advanced SL ของบาส ภุชงค์

กรกฏาคมปี 2015 Giant เปิดตัวจักรยานเสือหมอบแข่งรุ่นท็อป TCR Advanced SL รุ่นใหม่ ซึ่งปรับปรุงไปจากเจเนอเรชันก่อนพอสมควรครับ

หลายคนอาจจะไม่รู้แต่ TCR เป็นดีไซน์เก่าแก่สุดคลาสสิคคันหนึ่งในตลาดเสือหมอบเลยครับ เปิดตัวมาตั้งแต่ปี 1997 กับชื่อเต็มๆ ว่า Giant Total Compact Road ซึ่งเป็นเฟรมคอมแพคคันแรกของตลาดเลยก็ว่าได้ TCR ถูกออกแบบโดยนักออกแบบจักรยานชาวอังกฤษระดับตำนาน ไมค์ เบอร์โรว์ ที่เข้ามาช่วยปรับโฉมและประสิทธิภาพเฟรมแข่งของทีม ONCE ในปี 1998

คำว่า Compact ในที่นี้หมายถึงตัวถังเฟรมที่มีโปรไฟล์ขนาดเล็กลงกว่าเมื่อเทียบกับจักรยานทรง traditional ที่ท่อนออนตรง เฟรม compact ใช้ท่อนอนแบบลาดเอียง (Sloping top tube) ประโยชน์หลักคือทำให้เฟรมมีน้ำหนักน้อยลงเพราะใช้วัสดุในการผลิตน้อย, ลดจำนวนไซส์ที่ต้องผลิตในแต่ละรุ่น (จึงเป็นที่มาของจักรยานไซส์ XS, S, M, L etc etc) ลดระยะเวลาในการผลิต และทำให้การจำหน่ายจักรยานแข่งแบบ mass production ขยายตัวอย่างรวดเร็ว

Illustration showing the changes between the previous iteration of the TCR, and the new 2016 TCR frame and fork. The red shows the areas where Giant were able to strip away material, stiffen up the ride qualities, and reduce weight by way of learning’s from tube shape improvements, advancement in manufacturing techniques, or design changes.
สีดำคือโปรไฟล์ของเฟรม TCR 2016 เทียบกับสีแดงที่เป็นเงาของเฟรมเจเนอเรชันเก่า นั่นคือ TCR 2016 มีขนาดเล็กกระชับลงกว่าเดิมทำให้น้ำหนักน้อยลงและสติฟขึ้น

Giant TCR มีให้เลือกสามระดับคือ TCR Advanced Pro, Advanced SL และ Advanced โดย Advanced SL ใช้คาร์บอนเกรดสูงสุด น้ำหนักเบาที่สุด และใช้หลักอานเสากระโดง (คันที่บาสใช้) ส่วน Advanced Pro ใช้คาร์บอนเกรดสูงรองลงมา กับหลักอานแบบปรกติ และสำหรับ Advanced คือเฟรมเดียวกับ Advanced Pro แต่ใช้ตะเกียบคาร์บอนที่มีซางอลูมิเนียมเทเปอร์ 1.125″ (ไม่ใช่  OverDrive 2) เพื่อให้ราคาเป็นมิตรยิ่งขึ้น

เป้าหมายหลักของเฟรม TCR 2016 คือความสติฟที่สุดเท่าที่จะทำได้ในน้ำหนักน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เขาออกแบบโดยการศึกษาเฟรมของคู่แข่งที่สติฟและเบาที่สุดในตลาด 5 ลำดับแล้วพยายามออกแบบ TCR รุ่นใหม่ให้เหนือกว่าในทุกด้าน นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับเรื่องการซับแรงสะเทือนและแอโรไดนามิกด้วย

 

Phuchong’s Giant TCR Advanced SL

Phuchong Giant TCR Advanced SL-12

สัปดาห์ที่แล้ว Ducking Tiger ได้ปั่นกับจ่าอากาศโท บาส ภุชงค์ ซ้ายอุดุมศิลป์ นักปั่นทีมชาติไทย และสังกัดทีมสโมสรกองทัพอากาศ บาสเป็นนักปั่นอารมณ์ดีและอัธยาศัยดีเสมอ นอกจากจะเคยค้าแข่งในต่างประเทศให้กับโปรทีม Continental มา 3-4 ทีมแล้ว ยังเป็นอดีตแชมป์จักรยานถนนประเทศไทยหลายสมัยด้วย

จักรยานคันนี้เป็นรถที่บาสได้สปอนเซอร์ส่วนตัวจากบริษัทเวิร์ดไบค์ มากับล้อ Mavic Cosmic (ล้อซ้อม) ชุดเกียร์ Shimano Dura-Ace Di2 9070, ยาง Vittoria Corsa และขาจาน SRAM Red และพาวเวอร์มิเตอร์ติดบันไดจาก Be Pro

เจ้าของรถสูง: 179cm
น้ำหนัก: 59kg
เฟรมไซส์: S
ชักหลักอาน: 74.5 cm
เสต็มยาว: 125mm
แฮนด์กว้าง: 42cm

ถามว่าฟีลลิ่งการปั่นเป็นยังไง บาสบอกว่า:

“คาแรคเตอร์คือนุ่มนวล เบา และพุ่ง เทียบกันคันอื่นที่เคยขี่ เวลาเจอทางขรุขระถ้าเป็นรถแข็ง ทรงแอโร เราจะพยายามจะหลบเพราะมันสะเทือน แต่คันนี้เราอยากลุยทางไม่ค่อยดี เพราะมันกระจายแรงสะเทือนได้ดี น้ำหนักเฟรมเบามาก แล้วรถที่มันเบามากๆ เวลาเจอความเร็วสูงมันจะไม่ค่อยไป แต่คันนี้ไม่ได้เบาเว่อ น้ำหนักออกมาประมาณ 7.2-7.3 กิโลกรัม  

โดยรวมเป็นเฟรมที่รอบด้านและคล่องแคล่วดีมาก ฟีลไม่ค่อยตื้อ เสียอย่างเดียวคือหลักอานแบบเสากระโดงที่อาจจะเกะกะเวลาเดินทางครับ”

Phuchong Giant TCR Advanced SL-7
จุดเด่นของ TCR คือรูปทรงตัวถังที่ค่อนข้างเพรียวและมีความมน กลม มากกว่าเฟรมม all-round จากแบรนด์อื่นๆ
Phuchong Giant TCR Advanced SL-6
หลักอานแบบเสากระโดง หรือ integrated seatpost มีจุดเด่นตรงที่ทำให้เฟรมดูสวยงามกลมกลืนกันไปทั้งคัน และให้ฟีลการปั่นที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับเฟรม (เมื่อเทียบกับเฟรมที่ต้องใส่หลักอานต่างหาก) โดยเฉพาะเวลานั่งกดเค้นขึ้นเขา
Phuchong Giant TCR Advanced SL-5
Pro Look: มี plate ติดป้ายเบอร์แบบนี้ก็รู้ได้ว่าเจ้าของรถลงสนามบ่อย
Phuchong Giant TCR Advanced SL-4
เฟรม Giant มีเซนเซอร์รอบขาและความเร็วมาด้วย
Phuchong Giant TCR Advanced SL-3
ตีนผี Shimano Dura-Ace Di2 – ถึง Dura-Ace เจนใหม่จะเปิดตัวไปแล้วแต่ชุดเก่าก็ยังเป็นกรุ๊ปที่ได้รับความนิยมสูงสุดในสนามแข่งระดับอาชีพ
Phuchong Giant TCR Advanced SL-9
บาสใช้คอมพิวเตอร์จักรยาน Wahoo Elemnt
Phuchong Giant TCR Advanced SL-15
และพาวเวอร์มิเตอร์แบบบันไดจาก BePro เหตุผลนั้นก็เพราะบาสมีจักรยานแข่งหลายคัน ทั้ง Time Trial และจักรยานลู่ ใช้พาวเวอร์มิเตอร์แบบบันไดจึงสะดวกกับการใช้แข่งจริงกว่ามาก ถอดไม่ยาก และไม่ต้องเปลี่ยนอะไรเลย
Phuchong Giant TCR Advanced SL-13
ท่อนอนแบบลาดเอียงอาจจะดูธรรมดาในสมัยนี้ แต่เมื่อปลายปี 90s มันเป็นดีไซน์ที่แปลกใหม่ทีเดียว และมีคนต่อต้านเยอะเช่นกัน
Phuchong Giant TCR Advanced SL-11
ล้อ Mavic Cosmic Elite คู่กับยาง Vittoria Corsa
Phuchong Giant TCR Advanced SL-8
ลงยันต์ Ducking Tiger ซะด้วย
Phuchong Giant TCR Advanced SL-14
Giant เป็นไม่กี่แบรนด์ที่ใช้ลูกปืนถ้วยคอแบบ oversized (ด้านบน 1 1/4 นิ้ว และด้านล่าง 1 1/2 นิ้ว) และใช้ซางขนาด 1 1/4 นิ้ว นั่นหมายความว่าต้องใช้สเต็มขนาดพิเศษเช่นกัน Giant อ้างว่าขนาดที่ใหญ่กว่าปกติช่วยให้นักปั่นถ่ายส่งแรงในช่วงหน้าของจักรยานได้ดีกว่า และเข้าโค้งได้คมกว่า

Phuchong Giant TCR Advanced SL-10

Phuchong Giant TCR Advanced SL-2

ติดตามบาส ภุชงค์ได้ที่ Facebook Phuchong Saiudomsin ครับ

* * *

By เทียนไท สังขพันธานนท์

คูน คือผู้ก่อตั้งดั๊กกิ้งไทเกอร์ และอยากใช้เว็บไซต์นี้ช่วยให้คนไทยอยากขี่จักรยานกันเยอะๆ!

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *