เปิดตัว: Specialized S-Works Venge ViAS

ถ้าจะมีจักรยานคันไหนที่สร้างกระแสได้ฮือฮาที่สุดในปีนี้ บอกได้ไม่ยากเลยว่ามันคือเจ้า Specialized S-Works Venge ViAS ที่เราเห็นช็อตหลุดออกมานิดหน่อย และล่าสุดที่นักปั่นโปรทัวร์ชื่อดังอย่าง มาร์ค คาเวนดิช และปีเตอร์ ซากานใช้แข่งรายการ Tour de Suisse

แล้ว Venge ViAS มีอะไรใหม่บ้าง? Specialized อ้างว่าเฟรม Venge ตัวนี้ทำให้คุณปั่นได้เร็วขึ้นราว 120 วินาทีเต็มๆ ในระยะทาง 40 กิโลเมตรเทียบกับเฟรม S-Works Tarmac เป็นเฟรมที่แอโร่ที่สุดในโลกตอนนี้ และถ้าใช้อุปกรณ์แอโรของ Specialized ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยชุดแฮนด์สเต็มแอโร่, ล้อ Roval CLX 64 + ยาง S-Works Turbo, หมวก Specialized S-Works Evade, รองเท้า S-Works Sub 6 และสกินสูท S-Works Evade คุณจะประหยัดเวลาในการปั่นได้ถึง 5 นาทีในระยะทาง 40 กิโลเมตร หมัดฮุคในแคมเปญโฆษณา “5 Minutes” คือคุณสามารถปั่นได้แอโร่ เร็วเท่ากับจักรยาน Time Trial ถึงแม้จะใช้เฟรมเสือหมอบธรรมดา

แบ่งย่อยออกมา Specialized บอกว่าคุณจะประหยัดเวลาได้เท่าไร ถ้าใช้อุปกรณ์เหล่านี้ตามนี้

Venge ViAS with CLX 64 wheels: 120 วินาที (เทียบกับ Tarmac SL4 ที่ใช้ล้ออลูขอบต่ำ)

S-Works Turbo tyres: 35 วินาที (เทียบกับยาง Continental GP4000SII 23mm)

Evade helmet: 46 วินาที (เทียบกับหมวก S-works Prevail หรือ Giro Synthe)

S-Works Evade GC Skinsuit: 96 วินาที (เทียบกับชุดปั่นรัดรูปและเอี๊ยมทั่วไป)

S-Works 6 Shoes: 35 วินาที (เทียบกับรองเท้า S-works)

Total: 5:32 นาที ในระยะทาง 40 กิโลเมตร

แน่นอนว่า Ducking Tiger ไม่มีโอกาสได้ทดลองปั่นเหมือนสื่อต่างประเทศเจ้าอื่นๆ เพราะฉะนั้น เรามาดูรายละเอียดแต่ละส่วนที่ Specialized อ้างกันครับ

* * *

1. Frameset: Specialized S-Works Venge ViAS

หน้าตาเฟรม S-Works Venge ViAS ต่างไปจาก Venge รุ่นปัจจุบันพอสมควร Specialized อ้างว่าระหว่างที่คิดพัฒนาเฟรมนี้เขาไม่ได้คิดว่าจะทำยังไงให้ “เฟรม” ต้านลมน้อยที่สุด แต่คิดถึงระบบจักรยานโดยรวมทั้งคัน ซึ่งทำให้ต้องเอาปัจจัยอย่างค็อกพิท ล้อ ยาง เบรค บริเวณยึดขากระติก มาเป็นส่วนหนึ่งในการแก้โจทย์แอโรไดนามิก ไม่ได้พัฒนาแยกส่วนกันเหมือนที่ผ่านมา

SPECIALIZED_VENGE_ViAS-996x504

บริเวณท่อ downtube (ท่อล่าง) ประกอบไปด้วยรูปทรงแอโร่สองส่วนประกบกัน มาร์ค โคท หนึ่งในผู้พัฒนาเฟรม Venge บอกว่า บริเวณท่อ downtube ด้านบนนั้นทำงานไม่เหมือนส่วนล่าง เพราะถ้าจะให้มันต้านลมน้อยที่สุด มันต้องมีโปรไฟล์ทรงท่อสอดรับกับล้อ เบรคและตะเกียบ เพื่อให้ลมไหลผ่านได้ลื่นไหลที่สุด ขณะที่ส่วนล่างของ downtube นั้นมีหน้าที่ส่งต่อลมให้ไหลผ่านได้อย่างราบรื่นไปยังส่วนหลังของจักรยาน รูปร่างโปรไฟล์ท่อก็ควรจะต่างกันเพื่อให้ทำงานได้ดีที่สุด

Z-11

ผลลัพธ์คือทรงท่อ downtube ที่ดูคล้ายกับนาฬิกาทราย ด้านบนเป็นทรงแหลมคมให้รับลมปะทะได้ราบรื่นและเป็นชิ้นเดียวกับส่วนตะเกียบ ล้อและเบรค integrated แต่ป้านออกในส่วนล่างเพื่อรองรับเข้ากับโปรไฟล์ช่วงหลังของรถและให้รองรับจุดยึดกระติกน้ำทั้งสองจุด

ท่อคอมีขนาดเล็กที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อลดแรงปะทะลมด้านหน้า

* * *

2. เบรคนั้นมันคืออะไร!?

ส่วนที่แปลกประหลาดที่สุดในจักรยานคันนี้คงหนีไม่พ้นเบรค integrated ที่วางตำแหน่งในแนวนอนหลังตะเกียบหน้าและท่อนั่ง (seattube) จักรยานแอโร่แทบทุกรุ่นที่ใช้เบรคแอโร่ลักษณะนี้มีปัญหาเหมือนกันสองประการคือ 1. เบรคที่ให้มามีกำลังเบรคแย่กว่าเบรคกรุ๊ปเซ็ตทั่วๆ ไป เสียหายง่ายและซ่อมลำบาก 2. ไม่ได้ช่วยให้แอโร่ขึ้นกว่าเดิมนัก

Z-10

Specialized อ้างว่าเบรครุ่นใหม่ที่มากับ Venge นั้นไม่มีผลต่อแรงต้านลมเลย (Zero Drag) และพัฒนาให้ทำงานได้ดีเทียบเท่า Shimano Dura-Ace ซึ่งขึ้นชื่อว่าเบรคได้หนึบและมีฟีลลิ่งการเลียเบรคดีที่สุดในวงการ เบรคทั้งคู่มี power curve ในการเบรคคล้ายๆ กัน

Specialized อ้างว่าการวางเบรคในตำแหน่งขนานพื้นมีประโยชน์หลายข้อ นอกจากจะหลบลมแล้ว ยังไม่ต้องเพิ่มเนื้อวัสดุในจุดที่ยึด เพราะตำแหน่งหลังตะเกียบและหลังท่อนอนเป็นจุดที่มีความแข็งแรงที่สุดในจักรยาน และเลือกที่จะไม่ยึดเบรคใต้กระโหลกเพราะเป็นตำแหน่งที่เจอความเร็วลมสูงยิ่งกว่าจุดอื่นๆ ในเฟรม

น้ำหนักเฟรม 1,150g

* * *

3. ค็อกพิทแอโร่

อีกหนึ่งจุดที่มีรูปร่างต่างไปจากจักรยานคันอื่นๆ ก็คือค็อกพิท แฮนด์ สเต็ฒ Aerofly ที่ไม่ใช่แฮนด์ตรงๆ ทั่วไป (Venge ViAS ใช้แฮนด์รุ่นนี้ได้รุ่นเดียว ใช้แฮนด์ และสเต็มรุ่นอื่นไม่ได้เลย)

SPECIALIZED_VENGE_ViAS_front-996x504

จากผลการทดสอบในอุโมงค์ลม Specialized พบว่าสเต็มที่ตำแหน่ง -17 องศา (ขนานพื้น) ให้ผลการลู่ลมดีที่สุด แต่ถ้าจะทำแฮนด์สเต็มชิ้นเดียวแบบแบรนด์อื่นๆ หมายความว่าบริษัทต้องผลิตทั้งแฮนด์และสเต็มหลายสิบขนาดเพื่อให้ฟิตนักปั่นได้ทุกคน

สำหรับผู้ซื้อ Venge ViAS จะมีตัวเลือกแฮนด์สองรูปแบบ (แบบแบน เหมือนแฮนด์ Aerofly ที่มีขายตอนนี้ และอีกแบบเป็นทรงปีกนกที่ยกสูงขึ้น 25mm) สำหรับระยะ stack จะใช้ spacer ในการเพิ่มหรือลดแทน

ค็อกพิทร้อยสายภายในทั้งหมด สเต็มที่ใช้เลือกปรับองศาแฮนด์ได้ +/- 6 องศา ซึ่งดูแล้วการเซ็ตอัปน่าจะลำบากช่างประกอบรถไม่น้อย Specialized เชื่อว่าระบบค็อกพิทนี้ใช้ไม่ยาก แต่ในการออกแบบบริษัทให้ความสำคัญเรื่องลดแรงต้านลมมากกว่าความสะดวกในการประกอบและปรับแต่งรถ

* * *

4. ล้อ Roval CLX 64 + ยาง S-Works Turbo

นอกจากเฟรมใหม่แล้ว Specialized ถือโอกาสเปิดตัวล้อ Roval รุ่นใหม่ด้วยกับความสูง 64mm ซึ่ง Specialized อ้างว่าเป็นล้อเสือหมอบที่เร็วไม่แพ้ล้อดิสก์ ประหยัดเวลา 44 วินาทีในระยะทาง 40 กิโลเมตรเมื่อลมสงบ หรือลมสวน ถ้าเป็นลมข้างช่วยประหยัดเวลาได้ 104 วินาที ขึ้นอยู่กับทิศทางของลม

9k=-8

ล้อใช้ซี่ล้อหน้า 16 ซี่ ซี่หลัง 21 ซี่ ล้อหลังแบ่งเป็นซี่ฝั่ง driveside 14 ซี่ ใช้ลูกปืน Ceramic Speed ซี่ล้อ DT Swiss Aerolite และกลไกดุมจาก DT Swiss น้ำหนักล้อหน้า 695g ล้อหลัง 850g รวม 1545g และใช้หัวซี่ล้อแบบ external nipple เพื่อความสะดวกในการปรับศูนย์ล้อ

ล้อหน้ากว้าง 24mm และล้อหลังกว้าง 26mm Specialzied เชื่อว่าความกว้างนี้เมื่อใช้คู่กับยาง S-Works Turbo จะให้ผลรถแรงต้านลมได้ดีที่สุด

Specialized อาจจะไม่ได้เป็นที่รู้จักดีในการผลิตยาง แต่บริษัทพัฒนายางรุ่นใหม่ๆ มาหลายปีทีเดียวครับ ยาง S-Works Turbo ความกว้างยางหน้า 22mm ยางหลัง 24mm แต่จะฟิตเข้ากับล้อ Roval CLX พอดี เรื่องการประหยัดเวลา Specialized อ้างว่ายาง S-Works Turbo มี Rolling Resistance ต่ำที่สุดในตลาด พูดง่ายๆ คือยางไม่หนืดดูดพลังการปั่น ประหยัดเวลาได้ 35 วินาทีที่ระยะทาง 40 กิโลเมตร

* * *

4. สรุป & คอมเมนต์

ถึงเราจะไม่ได้ปั่นทดลองดูว่าเร็วจริงอย่างที่อ้างหรือเปล่า แต่ต้องชื่นชมแนวทางการพัฒนาเฟรมและระบบแอโร่ของ Specialized ในวันเปิดตัวเฟรม ViAS Specialized เชิญบรรณาธิการเว็บไซต์จักรยานชื่อดังทั่วโลก ไปลองปั่นเฟรมใหม่(เมื่อไรเราจะได้ไปมั่งนะ?!)  แต่ไม่ใช่การลองปั่นธรรมดา เพราะเขาให้แต่ละคนทดสอบข้ออ้างความแอโร่ที่ Specialized โฆษณาแบบถึงห้องแล็บ เริ่มด้วยการพาไปทดสอบในอุโมงค์ลมเทียบกับเฟรม Tarmac ธรรมดา แล้วใช้ระบบการวัดผลและ modelling ของ McLaren ในการวิเคราะห์ค่าความแอโร่พร้อมควบคุมปัจจัยต่างๆ ที่จะมีผลที่ต่อ drag เพื่อให้ได้ค่าการทดลองที่แม่นที่สุด จากนั้นพาไปปั่นบนเส้นทางจริงแล้วจับข้อมูลการปั่นชุดอุปกรณ์แอโร่ มาเทียบกับการปั่นอุปกรณ์ธรรมดา (Tarmac, หมวก Prevail, ล้อขอบต่ำกว่า CLX 64) เพื่อยืนยันผลการทดลองว่าเฟรม Venge ViAS และอุปกรณ์แอโร่ทั้งหมดเมื่อใช้รวมกัน ประหยัดเวลาได้ 5 นาทีจริง

ดูจากผลการทดสอบแบบละเอียดของแต่ละสำนักไม่ว่าจะเป็น Velonews, Bikeradar, และ Cyclingtips แล้ว ทุกสำนักบอกว่าประหยัดเวลาได้ 5 นาทีจริง เมื่อใช้อุปกรณ์แอโร่ทั้งหมด วัดผลได้จริงตามเครื่องมือและซอฟต์แวร์ที่เชื่อถือได้ แต่ระบุว่า ใน 5 นาทีนี้ สองนาทีครึ่งมาจากหมวกแอโร่และสกินสูท เช่นนั้นแล้วอย่าลืมว่าอีก สองนาทีครึ่งเป็นผลจากล้อขอบสูง ยาง และเฟรมแอโร่ รวมกัน ถ้าจะเทียบความไวของเฟรมต่อเฟรมจริงๆ นั้น ก็ต้องตัดตัวแปรอื่นๆ ออกให้เหมือนกันหมด ให้ต่างกันแค่เฟรมอย่างเดียว ซึ่งอาจจะเป็นเหตุผลว่าทำไม ในเซ็ตอัปรถไต่เขาที่ Specialized หยิบมาเทียบ ถึงไม่ให้ใช้อุปกรณ์แอโรเลย เพราะสุดท้าย เมื่อเทียบกันเฟรมต่อเฟรมแล้ว รวมเวลาประหยัดเวลาจริงอาจจะไม่ได้ดูเยอะเหมือนที่โฆษณาครับ แต่อย่างว่า คอนเซปต์เขาคือ ถ้าเราใช้ทุกอย่างแอโร่ทั้งหมดกับการปั่นจักรยานเสือหมอบธรรมดามันจะลู่ลมได้ขนาดไหน

DT ขอไม่พูดถึงชุดสกินสูท S-Works Evade, หมวก S-Works Evade และรองเท้า Sub6 (สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ลิงก์ข้างล่างครับ)

ราคา Frameset: 5,800 USD
ล้อ Roval CLX64: 2,800 USD
รองเท้า S-Works 6: 400 USD
รองเท้า S-Works Sub6: 325 USD
หมวก S-Works Evade: 250 USD
ชุดสกินสูท S-Works Evade: 500 USD

* * *

By เทียนไท สังขพันธานนท์

คูน คือผู้ก่อตั้งดั๊กกิ้งไทเกอร์ และอยากใช้เว็บไซต์นี้ช่วยให้คนไทยอยากขี่จักรยานกันเยอะๆ!

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *