GCN x DT: กลยุทธ์การสปรินต์แบบโปร

ในสัปดาห์ที่สองของการแข่ง Tour de France ปีนี้เสตจส่วนใหญ่มักจะจบลงด้วยการสปรินต์ แต่กลยุทธ์และเกมการสปรินต์ของแต่ละทีมนั้นเป็นอย่างไร เริ่มจากจุดไหน และทำยังไงบ้าง? วันนี้ช่อง GCN พาโปรเก่า Simon Richardson มาอธิบายให้เราฟังกันครับ เวลาดูเสตจสปรินต์จะได้เข้าใจถึงกลยุทธ์ของนักแข่ง และเชียร์กันได้สนุกขึ้นอีก!

ควบคุม Breakaway

ปรกติแล้วในเสตจที่ทุกทีมคิดว่าน่าจะจบด้วยการสปรินต์ (ส่วนใหญ่เป็นเสตจทางราบ) สิ่งแรกที่ต้องพิจารณาสำหรับทีมที่มีาสปรินเตอร์และทีมที่มีตัวเต็ง GC คือคอยสังเกตการณ์ว่าจะมีใครหลุดไปในกลุ่ม breakaway บ้าง

สำหรับทีมสปรินเตอร์คนที่หลุดไปต้องไม่ใช่คนที่มีลุ้นคว้าแชมป์เสื้อเขียวจ้าวความเร็ว หรือเป็นพวกสปรินเตอร์ขาแรง ซึ่งถ้าหลุดไปได้ก็มีโอกาสที่จะไปตัดแต้มรางวัลคะแนนรวมสำหรับหัวหน้าทีมของตนและฉกเสื้อเขียวไปในที่สุดครับ ตัวอย่างก็เช่นนักปั่นที่อาจจะอยู่ในอันดับ Top 10 ตารางผู้นำคะแนนรวม ปรกติแล้วสปรินเตอร์หัวหน้าทีมไม่นิยมเข้ากลุ่มหนีอยู่แล้ว ไม่มีประโยชน์เพราะจะโดนจับได้ในที่สุดและค่อนข้างเปลืองแรง

ส่วนทีม GC นั้นก็จะพยายามไม่ให้เหล่าคู่แข่งที่มีอันดับเวลารวมสูงๆ หลุดไปได้ ไม่งั้นอาจจะมีสิทธิฉกเสื้อเหลือง หรือทำเวลาตีตื้นหัวหน้าทีมของตัวเองได้เยอะ ซึ่งถือว่าไม่ดีครับ ที่สำคัญคือต้องไม่ปล่อยให้กลุ่มหนีมีขนาดใหญ่เกินไป ถ้ามีคนในกลุ่มเยอะก็แน่นอนว่าตามเก็บได้ยากเพราะสามารถผ่อนแรงช่วยกันปั่นได้่ดีกว่าคนน้อยๆ ส่วนใหญ่แล้วนักปั่นใน breakaway ที่รอดไปได้มักจะมีไม่เกิน 8 คน เฉลี่ยๆ แล้วอยู่ที่ 4-5 คน

คล้องโซ่กลุ่มหนี

Team-Argos-Shimano-Express_Website-banner

ในช่วงแรกของการแข่งขัน การแย่งเข้ากลุ่ม breakaway จะค่อนข้างดุเดือดเพราะโดยเฉลี่ยจะมีนักปั่นจากแต่ละทีมอย่างน้อย 50-60 คนถูกสั่งให้พยายามเข้ากลุ่มให้ได้ (เพื่อจุดประสงค์ต่างๆ เช่นลุ้นชิงแชมป์เสตจ, เข้าไปถ่วงคู่แข่ง, เข้าไปรอหัวหน้าทีม, เข้าไปตัดแต้มสปรินเตอร์) หมายความว่าความเร็วในการแข่งช่วงแรกก็ค่อนข้างจะสูงครับ อาจจะมากถึง 50-60 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเลยก็ได้

เมื่อ Peloton พอใจกับนักปั่นที่อยู่ในกลุ่มหนี นั่นคือไม่เป็นพิษภัยต่อทั้งสปรินเตอร์และเหล่า GC ความเร็วกลุ่มก็จะตกลง ปล่อยให้ breakaway หนีไปพอประมาณเพื่อพักขา ดื่มน้ำ เป็นต้น จากนั้นทีม GC และสปรินเตอร์จะสลับกันขึ้นนำขบวนเพื่อตั้งความเร็วไม่ให้กลุ่มหนี หนีไปได้เกินเวลาที่คิดว่าจะจับได้ทัน อาจจะอยู่ที่ 4-5 นาทีเป็นต้น

 

50 กิโลเมตรสุดท้าย

Screen Shot 2556-07-12 at 5.42.32 PM

ปรกติแล้วที่ 50 กิโลเมตรสุดท้ายทีม GC และสปรินเตอร์จะเริ่มเร่งความเร็ว ไล่จับ breakaway เพื่อไม่ให้กลุ่มหนีเข้าเส้นชัยไปก่อน การแข่งจะได้จบด้วยการสปรินต์และหัวหน้าทีมจะได้มีสิทธิลุ้นแชมป์เสตจครับ

 

10 กิโลเมตรสุดท้าย

Screen Shot 2556-07-12 at 5.43.40 PM

ณ จุดนี้ peloton น่าจะเกือบไล่จับ breakaway จนทัน แต่จะยังไม่รวบซะทีเดียว เพราะอะไร? ก็เพราะว่าถ้ารีบจับไปได้ก่อนก็จะต้องมีคนพยายามยิงหนีออกไปแน่ๆ ซึ่งถือว่าเป็นแผนที่ไม่ดีครับ เพราะต้องเสียแรงไล่จับนักปั่นกลุ่มใหม่ที่หนีไปอีก

 

5 กิโลเมตรสุดท้าย

Screen Shot 2556-07-12 at 5.45.47 PM

จังหวะนี้เหล่าศิลปินนักหลบหนีจะถูกกลุ่มรวบหมดเรียบร้อยแล้ว และทีมสปรินเตอร์จะขึ้นมานำหน้ากลุ่มเพื่อตั้งขบวนพยายามจัดตำแหน่งที่ดีที่สุดให้หัวหน้าทีมของตัวเอง เราเรียกขบวนสปรินต์เหล่านี้ว่า ‘leadout train’ หรือภาษาไทยง่ายๆ ว่าขบวนหัวลากนั่นเองครับ คนที่เป็นหัวลากประจำทีมจะทำหน้าที่บังลมหัวหน้าทีมซึ่งจะอยู่ตำแหน่งท้ายสุดของขบวนและคอยเลือกไลน์ หาช่อง เลือกจังหวะเข้าโค้งให้ปลอดภัยที่สุดและเร็วที่สุดสำหรับหัวหน้าทีม แน่นอนว่ามีหลายทีมที่ต้องการจะส่งสปรินเตอร์เข้าเส้นชัยเป็นคนแรก ก็ต้องเบียดเสียดแย่งตำแหน่งกันอย่างดุเดือด ทุกทีม รวมไปถึงทีม GC ด้วยอยากจะขึ้นมาอยู่หน้าสุดก็เพราะว่ามันปลอดภัยที่สุดและเร็วที่สุดครับ

 

1 กิโลเมตรสุดท้าย

จังหวะนี้ ทีมที่แกร่งที่สุดมักจะมีหัวลากให้หัวหน้าทีมสองคน คนแรกพาลากไปจาก 1 กิโลเมตรจนถึง 500 เมตรสุดท้าย และอีกคนลากจาก 500 เมตรไปยัง 250 เมตรสุดท้าย พอถึง 250 เมตรสุดท้าย ก็จะเปิดทางให้หัวหน้าทีมเป็นคนสปรินต์เข้าเส้นชัยแข่งกับตัวเต็งจากทีมอื่นๆ ไปครับ สาเหตุที่ควรจะมีหัวลากสองคนนั่นก็เพราะว่า ในระยะ 1 กิโลเมตรสุดท้ายนักปั่นจะเริ่มสปรินต์กันอย่างสุดกำลัง โปรนั้นไม่สามารถสปรินต์ที่ความเร็วสูงสุดได้ไกลสักเท่าไร ถ้ามีคนช่วยบังลม แหวกช่องสองคนในระยะทาง 1000 เมตรก็ถือว่าเหมาะพอดีครับ ถ้ามีแค่คนเดียวอาจจะน้อยเกินไปและหมายความว่าหัวหน้าทีมต้องขึ้นสปรินต์ต้านลม จะหมดแรงก่อนเข้าเส้นชัย และอาจจะพ่ายให้คู่ต่อสู้ได้ในที่สุด

ลองดูภาพและวิดีโอศิลปะการสปรินต์จากทีม Argos-Shimano ครับ หนึ่งในทีมที่ฝึกหัวลากได้แม่นยำและมีประสิทธิภาพมากที่สุดใน peloton อธิบายได้ดีทีเดียว

1010062_555972417773560_1729519741_n

Published
Categorized as LEARN

By เทียนไท สังขพันธานนท์

คูน คือผู้ก่อตั้งดั๊กกิ้งไทเกอร์ และอยากใช้เว็บไซต์นี้ช่วยให้คนไทยอยากขี่จักรยานกันเยอะๆ!

3 comments

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *