46 รูปที่ดีที่สุดจากสัปดาห์แรกใน Giro d’Italia

23. สำหรับนักปั่นที่เป็นสปรินเตอร์ โอกาสที่จะได้แชมป์แกรนด์ทัวร์นั้นแทบเป็นไปไม่ได้ เช่นนั้นแล้วรางวัลที่ดีที่สุดที่เขาจะทำได้ก็คือการได้แชมป์สเตจ

มีกีฬาแค่ประเภทเดียวในโลกนี้ที่แข่งขันกันติดต่อกันยาวนานถึงสามสัปดาห์ นั่นก็คือการแข่งขันจักรยานอาชีพ ภายในสามสัปดาห์นี้มีเรื่องราวมากมายเกิดขึ้นที่เราไม่ได้เห็นผ่านทางถ่ายทอดสด ในโซเชียลมีเดีย หรือในสื่อต่างๆ

เพราะมันเป็นการแข่งขัน ความสนใจเลยมุ่งไปที่ผู้ชนะ

ในแต่ละวัน ผู้ช่วย ผู้แพ้ เส้นทาง ภูมิประเทศ และบรรยากาศรอบการแข่งขันมักถูกมองข้ามไป เพราะมันไม่ใช่สิ่งที่คนจะสนใจในโมเมนท์ที่ต้องตัดสินผลแพ้ชนะ

ในวันพักการแข่งขันวันแรกของ Giro ปีนี้ DT รวบรวมภาพถ่ายทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังผ่านสายตาช่างภาพที่เกาะกลุ่มเปโลตองทั้งในและนอกสนาม กับเรื่องราวของการแข่งขัน Giro d’Italia ที่เชื่อว่าหลายคนอาจจะไม่เคยได้เห็นมาก่อนครับ

1. ก่อนเริ่มสตาร์ทการแข่งขันในแต่ละวัน ผู้เข้าแข่งขันต้องมาเซ็นชื่อที่หน้าจุดสตาร์ท ถ้าไม่เซ็นก็ถือว่าต้องออกจาการแข่งขัน (สถานะ Did not start) ซึ่งเป็นกฏพื้นฐานของกีฬานี้ ในการแข่งติดต่อกันหลายวัน นักปั่นต้องเริ่มที่จุดสตาร์และปั่นจนเข้าที่เส้นชัยที่กำหนดในแต่ละวันถึงจะสามารถลงแข่งในวันต่อไปได้
2. ก่อนจะเริ่มการแข่งขันแต่ละสเตจ นักปั่นที่เป็นผู้นำการแข่งขันในแต่ละประเภท รวมถึงแชมป์สเตจของวันก่อนหน้าก็ต้องมาถ่ายรูป แยกออกจากกลุ่มเปโลตอง เป็นโอกาสให้นักปั่นที่ไม่ใช่หัวหน้าทีมหรือแชมป์รายการ แต่ได้ครองเสื้อผู้นำระหว่างการแข่งขันได้เป็นที่รู้จักมากขึ้น
3. ผู้นำการแข่งขันได้สิทธิปล่อยตัวจากหน้ากลุ่มเปโลตอง ไม่ต้องแย่งเบียดตำแหน่งกับคนอื่นๆ พริมอซ​ โรจ์ลิค (ซ้าย) ผู้นำเวลารวม กำลังคุยกับปาสคาล แอคเคอร์แมน (ขวา) ผู้นำคะแนนรวมและสปรินเตอร์ที่ฟอร์มดีที่สุดในรายการปีนี้
4. การได้ถือเสื้อผู้นำเวลารวมระหว่างการแข่งขัน ก็เป็นโอกาสให้นักปั่นได้แต่งตัวให้เหมาะกับโอกาสด้วย โรจ์ลิคเลือกถุงเท้าสีชมพู ทีมส่วนใหญ่จะไม่ทำจักรยานสีเสื้อผู้นำให้นักปั่นทันทีก่อนจะถึงวันสุดท้ายของการแข่งขัน เพราะถ้ายังแข่งไม่จบหรือยังนำไม่ขาด โอกาสเสียเสื้อก็มีได้ทุกวัน
5. และหมวกสีเดียวกับเสื้อผู้นำ…
6. จะชนะแกรนด์ทัวร์ได้ก็ต้องอยู่รอดจนถึงวันสุดท้าย โรจ์ลิคล้มเจ็บในสเตจแรก – ถึงเส้นทางจะไม่ได้มีภูเขาสูงชันท้าทาย แต่นักปั่นที่เป็นตัวเต็งชิงแชมป์รายการก็ต้องเอาตัวรอดจากอุบัติเหตุและเหตุการณ์ต่างๆ ที่อาจจะทำให้เสียเวลาให้คู่แข่งคนอื่นๆ ในการแข่งขันที่มีคู่แข่งเกือบ 200 คน บางครั้งนักปั่นก็ห้ามไม่ให้เกิดอุบัติเหตุไม่ได้
7. ที่อิตาลีกำลังอยู่ในช่วงรอยต่อระหว่างปลายฤดูหนาวและฤดูใบไม้ผลิ
8. บางวันก็อากาศดี
9. บางวันก็ไม่ดี…
10. ทีมที่นำอันดับเวลารวมอยู่ ต้องรับหน้าที่ “คุมเกม” การแข่งจักรยานอาชีพอาจจะต่างจากการแข่งมือสมัครเล่นอยู่พอสมควรตรงที่ แต่ละวันมักมีกลุ่มนักปั่นที่พยายามหนีไปชิงชัยชนะด้านหน้า หรือหนีไปเพื่อเป็นกลยุทธ์ให้เพื่อนร่วมทีมที่อยู่ด้านหลัง แต่ “กลุ่มหนี” หรือที่เรียกว่า “เบรกอเวย์” ในการแข่งอาชีพมักถูก “ควบคุม” อย่างละเอียด นักปั่นอาชีพมีวิทยุสื่อสารติดตัวทุกคน และมีโค้ชคอยรายงานสถานการณ์ว่ากลุ่มหนีนำห่างอยู่กี่นาที พลวัตรการแข่งระหว่างกลุ่มหนีเป็นส่วนสำคัญที่นักปั่นคำนวนอย่างละเอียดในทุกสเตจ
11. วินเชนโซ นิบาลี (Bahrain-Merida) เป็นแชมป์รายการ Giro d’Italia สองสมัย และขึ้นชื่อว่าเป็นนักแข่งสเตจเรซที่เก่งที่สุดและมีชื่อเสียงที่สุดจากอิตาลี ไม่แปลกใจที่จะมีแฟนๆ คอยติดตามเชียร์ตลอดทุกสเตจ
12. อุโมงค์ทะลุช่องเขา
13. และเมืองที่ตั้งอยู่บนชายเขา
14. ไซมอน เยทส์ (Mitchelton-Scott) เป็นตัวเต็งคนหนึ่งที่ผิดหวังจากผลการแข่งขันปีที่แล้ว ที่เขาฟอร์​มตกในสัปดาห์สุดท้าย ต้องสละเสื้อผู้นำที่ใส่ติดต่อกันมาร่วมสองสัปดาห์ ให้คริส ฟรูม (Sky) ที่ได้แชมป์รายการในที่สุด
15. ปีนี้ไซมอน มากับเอสเตบาน ชาเวซ เพื่อนร่วมทีมที่เป็นนักไต่เขาตัวจี๊ด แต่เจ็บป่วยตลอดฤดูกาล 2018
16. เฟอร์นันโด กาวิเรีย (UAE) อีกหนึ่งนักปั่นจากโคลอมเบีย สองฤดูกาลที่ผ่านมานี้โปรทีมเริ่มจ้างและเฟ้นหานักปั่นจากโคลอมเบียมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ให้ความสำคัญกับกีฬาจักรยานและมีการพัฒนานักปั่นตั้งแต่วัยเด็กอย่างเป็นระบบ
17. ขาทีมไหน? สีกางเกงนี้มีแค่ทีมเดียว
18. Giro d’Italia เป็นแกรนด์ทัวร์ที่อากาศแปรปรวนที่สุดในปี สัปดาห์แรกในการแข่งขันปีนี้ฝนตกติดต่อกันหลายสเตจ
19. การที่อากาศแปรปรวนก็ทำให้มีผลต่อการแข่งขันไม่น้อย นักปั่นหลายคนป่วยและถอนตัวจากการแข่งขันไปแล้ว
20. แน่นอนว่าการสปรินต์ความเร็วสูงระหว่างฝนตกก็เป็นเรื่องอันตรายไม่น้อย แต่โชคดีว่าปีนี้ยังไม่มีอุบัติเหตุที่เส้นชัยระหว่างที่ฝนตก ส่วนหนึ่งก็อาจจะเพราะพอฝนตก นักกีฬาก็จะระวังตัวเป็นพิเศษ
21. ชัยชนะของสปรินเตอร์จำเป็นต้องพึ่งพาเพื่อนร่วมทีมให้ช่วยวางตำแหน่งให้เขาพร้อมท้าชิงแชมป์สเตจ ทุกครั้งที่สปรินเตอร์ชนะก็จะต้องไปขอบคุณเพื่อนร่วมทีมเสมอ
22. บางครั้งก็ยินดีกับคู่แข่งด้วย…
23. สำหรับนักปั่นที่เป็นสปรินเตอร์ โอกาสที่จะได้แชมป์แกรนด์ทัวร์นั้นแทบเป็นไปไม่ได้ เช่นนั้นแล้วรางวัลที่ดีที่สุดที่เขาจะทำได้ก็คือการได้แชมป์สเตจ 
24. ทอม ดูโมลานเป็นแชมป์เก่าปี 2017 เขาตั้งใจมาลงแข่งรายการนี้และเป็นคนที่มีสิทธิลุ้นแชมป์ที่สุดคนหนึ่ง
25. แต่เพราะล้มบาดเจ็บทำให้เขาต้องถอนตัวไปอย่างน่าเสียดาย
26. Bahrain-Merida อาจจะมีสปอนเซอร์เป็นประเทศในตะวันออกกลาง แต่นักปั่นส่วนใหญ่ของทีมเป็นชาวอิตาเลียน รวมถึงทีมบริหารด้วย
27. ถึงจะเป็นการแข่งขัน ก็ใช่ว่านักปั่นแต่ละทีมจะต้องเป็นศัตรูกันตลอดเวลา
28. มุมจากหน้ากลุ่มเปโลตอง
29. ช่วงท้ายของสเตจหลายๆ ทีมเลือกตั้งแถวของทีมตัวเองเพื่อให้หัวหน้าทีมได้ตำแหน่งที่ดีที่สุด
30. ความเข้มข้นของคนคุมขบวนก็จะมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อใกล้ถึงเส้นชัย หัวลากทีม Bora-Hansgrohe มองกลับไปเช็คตำแหน่งปาสคาล แอคเคอร์แมน เอซสปรินเตอร์ของทีม
31. ไซมอน เยทส์นั่งรอเตรียมสตาร์ทสเตจ 9 ซึ่งเป็นการแข่งจับเวลา (ไทม์ไทรอัล) 34 กิโลเมตร
32. ในสเตจไทม์ไทรอัล นักปั่นจะเลือกใส่ชุดปั่นที่เข้ารูปพร้อมหมวกกันน็อคที่สตรีมไลน์ไปกับศีรษะ เพื่อให้ร่างกายไหลผ่านอากาศได้เร็วที่สุด แรงต้านอากาศเป็นตัวแปรสำคัญที่มีผลต่อเวลาที่นักปั่นจะทำได้ จักรยานก็ออกแบบมาให้อยู่ในท่าปั่นที่ลู่ลมกว่าเสือหมอบธรรมดาๆ เช่นกัน
33. โทบิอาส ลุดวิกซันจากทีม FDJ ในชุดแชมป์ไทม์ไทรอัลสวีเดน กำลังลงจากแรมป์ที่จุดสตาร์ท
34. วิวจากแรมป์จุดปล่อยตัวในสเตจไทม์ไทรอัล
35. พริมอซ โรจ์ลิคที่หน้ารถบัสของทีม กำลังวอร์มอัปก่อนลงแข่งไทม์ไทรอัลในสเตจ 9 มีแฟนๆ มารุมล้อมถ่ายรูป จักรยานเป็นกีฬาอาชีพที่ไม่มีการเก็บเงินผู้ชม
36. เขาคว้าแชมป์สเตจไทม์ไทรอัลทั้งสองครั้ง (สเตจ 1 และ 9) ทำให้มีเวลารวมนำห่างคู่แข่งอยู่ไม่น้อย ถ้ารักษาระยะห่างนี้ไว้ได้ก็มีสิทธิลุ้นแชมป์รายการ
37. บ็อบ ยุงเกลส์ (Quickstep) กับจักรยาน Specialized S-Works Shiv รุ่นทดลองที่น่าจะเปิดตัวในปี 2019 นี้
38. วิวพันล้าน
39. ถ้าใครเคยไปดูการแข่งจริงหน้าสนามก็จะรู้ว่านักปั่นขี่กันเร็วกว่าภาพที่เราเห็นในทีวีอยู่ไม่น้อย
41. ถ้วยรางวัล Giro d’Italia มีชื่อเล่นว่า “The Never Ending Trophy” ขึ้นชื่อว่าเป็นถ้วยรางวัลที่สวยงามที่สุดในวงการจักรยาน รอบๆ ถ้วยรางวัลมีชื่อแชมป์ทุกสมัยสลักอยู่บนถ้วย
40. สนาม Giro d’Italia จัดโดยบริษัท RCS Sport ที่เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ La Gazzetta dello Sport หนังสือพิมพ์กีฬาที่เก่าแก่ที่สุดในอิตาลี (ที่นางแบบถือในภาพ) จริงๆ แล้วรายการ Giro d’Italia นั้นก็เป็น นสพ. La Gazzetta นี่เองที่เป็นคนเริ่มจัดการแข่งขัน เพื่อใช้โปรโมทหนังสือพิมพ์
42. อิลเนอร์ ซาคาริน เอซชาวรัสเซียจากทีม Katusha-Alpecin รัสเซียเป็นชาติที่ไม่ได้มีบทบาทมากนักในการแข่งจักรยานอาชีพ แต่ปีหลังๆ มานี้ก็เริ่มมีนักปั่นเก่งๆ ออกมามากขึ้น ทีม IENOS (อดีต Sky) ก็กำลังปั้นพาเวล ซิวาคอฟ นักปั่นจากรัสเซียให้เป็นตัวเต็งแกรนด์ทัวร์คนใหม่
43. สัปดาห์แรกใน Giro ปีนี้แทบไม่มีภูเขาสูงชัน แต่มันจะเปลี่ยนไปในสัปดาห์ที่ 2 และ 3 ที่แทบไม่มีสเตจทางราบเลย
44. ฟาอุสโต้ มาสนาด้าจากทีม (Androni Giocattoli – Sidermec) สปรินต์ชิงแชมป์สเตจ 6 กับวาเลริโอ คอนติ (UAE)
45. ถึงคอนติจะแพ้ให้มาสนาด้า แต่เขาก็ขึ้นนำเป็นผู้นำเวลารวมคนใหม่ และยังถือเสื้อผู้นำจนถึงตอนนี้
46. การแข่งจักรยานอาชีพมีความย้อนแย้งอยู่ในตัวเอง ถึงมันจะเป็นกีฬาแบบทีม แต่ผู้ชนะมีได้คนเดียว รายได้ ชื่อเสียงก็มักตกไปอยู่กับผู้ชนะมากกว่าทีม จนบางทีเราลืมไปว่าผู้ชนะนั้นแทบจะไม่มีสิทธิชนะเลยถ้าไม่มีเพื่อนร่วมทีมคอยสนับสนุนเขาในแต่ละวัน

* * *

By เทียนไท สังขพันธานนท์

คูน คือผู้ก่อตั้งดั๊กกิ้งไทเกอร์ และอยากใช้เว็บไซต์นี้ช่วยให้คนไทยอยากขี่จักรยานกันเยอะๆ!