พรีวิว: Tour of Qatar

The Races in desert?

ผมเชื่อว่าแทบทุกคนที่ติดตามการแข่งขันจักรยานต้องสงสัยว่าทำไมสนามแข่งจักรยานใหญ่ๆ ที่ทีมระดับบิ๊กถึงมากระจุกอยู่กลางทะเลทรายตะวันออกกลางทั้งๆ ที่มันเป็นกีฬาที่ตลอดทั้งปีเขาแข่งขันกันในยุโรป? ดูไบทัวร์พึ่งจะจบไปเมื่อวานนี้ วันนี้เรามีแข่งทัวร์ออฟการ์ต้ากันอีกแล้ว และอาทิตย์ถัดไปก็มีทัวร์ออฟโอมาน…คำตอบง่ายๆ คือมันเป็นความพยายามของผู้จัดแข่งรายใหญ่ที่อยากทำให้การแข่งขันจักรยานโด่งดังไปทั่วโลก และประเทศเศรษฐีใหม่ในตะวันออกกลางซึ่งไม่มีกีฬาเด่นๆ ประจำชาติก็ยอมที่จะทุ่มเงินเพื่อสนับสนุนกีฬาที่ดึงเอานักแข่งชื่อดังมาช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวและสร้างโปรไฟล์ให้กับประเทศของตัวเองครับ

ผลพลอยได้ก็คือนักแข่งไม่ต้องทนต่อสู้กับอากาศหนาวๆ ในยุโรป ได้มา “ซ้อม” และแข่งกันในตะวันออกกลางแทน อากาศดี ห้องพักหรูหรา และลมแรงเหมาะจะใช้เค้นฟอร์มสนามคลาสสิคที่จะเริ่มกันในเดือนมีนาคมนี้

รับลมทะเลทราย!
รับลมทะเลทราย!

ทัวร์ออฟการ์ต้า: เข้าสู่ปีที่ 13

ทัวร์ออฟการ์ต้าเป็นสนามตะวันออกกลางที่เก่าแก่ที่สุดเลยก็ว่าได้เมื่อเทียบกับโอมานและดูไบ และเป็นสนามที่โปรชื่อดังให้ความสำคัญมากขึ้นทุกปีๆ ทำให้การแข่งขันดุเด็ดเผ็ดร้อนมากขึ้นด้วยเช่นกัน สำหรับทัวร์ออฟการ์ต้าครั้งที่ 13 ปีนี้แข่งกันทั้งหมด 6 วัน 6 สเตจ ระยะทาง 714 กิโลเมตร และเป็นทางราบเกือบ 100% และมี time bonus ให้ผู้ชนะสเตจอีกด้วย

สิงห์คลาสสิคปะทะแข้ง

แล้วทำไมโปรถึงชอบมาแข่งกันที่นี่? ว่ากันว่าการซ้อมจักรยานที่ดีที่สุดก็คือการแข่งขันนั่นเองครับ สนามการ์ต้าเป็นที่รวมตัวของขุนผลนักปั่นสไตล์คลาสสิคที่หวังชิงแชมป์รายการอย่าง Tour of Flanders และ Paris-Roubaix มาลงกันอย่างครบครันเพื่อเก็บซ้อมพัฒนาฟอร์มและหยั่งเชิงคู่แข่งก่อนที่จะเริ่มลุยกันจริงจังในเดือนมีนาคม ที่สำคัญสนามนี้่มีอุปสรรคหลักๆ เป็นกระแสลมเช่นเดียวกับสนามคลาสสิค จึงเป็นการทดสอบฟอร์มของตัวเต็งได้อย่างดี

ตัวอย่างที่ดีที่สุดคงหนีไม่พ้น Tom Boonen (OPQS) ที่เป็นแชมป์รายการนี้ถึง 4 สมัย (2006, 2008, 2009, 2012) พร้อมแชมป์สเตจ 20 สเตจ! ทุกครั้งที่เขาได้แชมป์การ์ต้า เขาก็จะตามไปได้แชมป์ Flanders หรือ Roubaix ด้วยทุกครั้ง ในปีก่อน Mark Cavendish เพื่อนร่วมทีมคว้าแชมป์รายการในขณะที่ Boonen รักษาอาการบาดเจ็บอยู่ ปีนี้ Boonen มาพร้อมกับโดเมสติกผู้เชี่ยวชาญสนามคลาสสิคเช่น Niki Terpstra, Iljo Keisse และ Gert Steegmans

ขณะเดียวกันคู่แข่งตัวสำคัญอย่าง Fabian Cancellara ก็จับเครื่องบินดิ่งตรงมาจากดูไบเพื่อลงรายการนี้โดยเฉพาะ สเตจ Time Trial 10 กิโลเมตรที่น่าจะวัดฟอร์มเขาได้เป็นอย่างดี สิงห์คลาสสิคคนอื่นๆ ก็มากันครบๆ ทั้ง Phlippe Gilbert และ Greg Van Avermaert (BMC), Jurgen Roelandts (Lotto), Heinrich Haussler (IAM), Lars Boom (Belkin) ตบท้ายด้วยทีมคลาสสิคของ Sky – Ian Stanard และ Bernhard Eisel

Boonen แชมป์ 4 สมัยและ 20 สเตจ
Boonen แชมป์ 4 สมัยและ 20 สเตจ
Cancellara น่าจะทำผลงานได้ดีในสเตจ Time Trial
Cancellara น่าจะทำผลงานได้ดีในสเตจ Time Trial
Heinrich Haussler (IAM) อีกหนึ่งม้ามืดที่เคยชนะสนามนี้มาก่อน
Heinrich Haussler (IAM) อีกหนึ่งม้ามืดที่เคยชนะสนามนี้มาก่อน

Sprinting Mayhem

ถึงแม้สิงห์คลาสสิคจะอัดแน่นกันเต็มเพโลตอง แต่ด้วยสภาพสนามที่เป็นทางราบเกือบ 100% ก็หมายความว่าสปรินเตอร์ก็มีโอกาศลุ้นคว้าแชมป์รายการเช่นกันครับ Kittel, Cavendish, Sagan ไม่ได้เข้าร่วม แต่รายการนี้ก็มี Andre Griepel (Lotto) ที่เปิดฤดูกาลได้อย่างงดงามใน Tour Down Under เจอกับ Alexander Kristoff (Katusha), Arnaud Demare (FDJ), Theo Bos (Belkin), Elia Viviani (Cannondale), และ Daniele Benatti (Tinkoff)

ใครจะเป็นผู้ชนะ?

โดยรวมแล้วเป็นสนามที่ทั้งสปรินเตอร์และสิงห์คลาสสิคมีโอกาสคว้าแชมป์พอๆ กันครับ ความยากของสนามนี้คือกระแสลมตีข้างที่อาจจะพัด peloton แตกเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยเหมือนปีที่แล้วเพราะเส้นทางแข่งกันกลางทะเลทราย ไม่มีต้นไม้หรือตึกช่วยบังลมเลย ทำให้ขาแรงคลาสสิคจอม breakaway มีโอกาศหนีกลุ่มไปเก็บเสตจวิน แต่ถ้าหัวลากสปรินเตอร์ฟอร์มดี แรงถึง ก็อาจจะจบด้วยการสปรินต์กลุ่มได้เหมือนที่ Mark Cavendish ชนะไปในปีที่แล้วครับ

Griepel น่าจะเก็บสเตจวินได้ไม่ยากเย็น
Griepel น่าจะเก็บสเตจวินได้ไม่ยากเย็น
Theo Bos (Belkin) เป็นม้ามืดสปรินเตอร์ที่ฝีเท้าไม่ธรรมดา
Theo Bos (Belkin) เป็นม้ามืดสปรินเตอร์ที่ฝีเท้าไม่ธรรมดา

ถ่ายทอดสด

ดูจากผังรายการ Eurosport แล้วไม่มี Tour of Qatar คาดว่าปีนี้คงไม่ได้รับสิทธิครับ เพราะฉะนั้นคงดูได้ผ่านอินเตอร์เน็ตอย่างเดียว

ลิงก์ถ่ายทอดสดที่ www.duckingtiger.com/live
เวลา 19:00-20:30

13th Tour of Qatar (Feb. 9-14)

Stage 1: Al Wakra — Dukhan Beach (135.5km)
Stage 2: Camel Race Track — Al Khor Corniche (160.5km)
Stage 3: Lusail Circuit ITT (10.9km)
Stage 4: Dukhan — Mesaieed (135km)
Stage 5: Al Zubara Fort — Madinat Al Shamal (159km)
Stage 6: Sealine Beach Resort — Doha Corniche (113.5km)

[separator type=”thin”]

[columns_row width=”half”]

[column]

Top 10 ปี 2013

Tour of Qatar: Last year’s top 10 (2013)
1. Mark Cavendish (GBr) Omega Pharma-QuickStep in 15-55-20
2. Brent Bookwalter (USA) BMC Racing at 25 secs
3. Taylor Phinney (USA) BMC Racing at 26 secs
4. Adam Blythe (GBr) BMC Racing at 30 secs
5. Bernhard Eisel (Aut) Sky at 32 secs
6. Greg Van Avermaet (Bel) BMC Racing at 32 secs
7. Michael Schar (Swi) BMC Racing at 35 secs
8. Edvald Boasson Hagen (Nor) Sky at 39 secs
9. Luke Rowe (GBr) Sky at 40 secs
10. Geraint Thomas (GBr) Sky at 40 secs
[/column]
[column]

ทำเนียบแชมป์เก่า

2013: Mark Cavendish
2012: Tom Boonen
2011: Mark Renshaw
2010: Wouter Mol
2009: Tom Boonen
2008: Tom Boonen
2007: Wilfried Cretskens
2006: Tom Boonen
2005: Lars Michaelsen
2004: Robert Hunter
2003: Alberto Lodo
2002: Thorsten Wilhelms
[/column]

[/columns_row]

By เทียนไท สังขพันธานนท์

คูน คือผู้ก่อตั้งดั๊กกิ้งไทเกอร์ และอยากใช้เว็บไซต์นี้ช่วยให้คนไทยอยากขี่จักรยานกันเยอะๆ!

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *