เปิดตัว: Trek Domane SLR

ลังจากที่ปล่อยให้เฟเบียน แคนเชอลาราได้ทดลองใช้แข่งและคว้าแชมป์สนาม Strade Bianche 2016 มาแล้ว ในที่สุด Trek ก็เปิดตัวเฟรมเอนดูรานซ์รุ่นใหม่ Trek Domane SLR ที่มากับเทคโนโลยีซับแรงสะเทือน IsoSpeed ทั้งที่ช่วงหลัง ช่วงหน้า และที่แฮนด์​

DSC_2834_edit

เป็นการอัปเดตเฟรม Domane หลังจากที่เปิดตัวรุ่นแรกมาร่วม 4 ปีเต็มแล้ว สิ่งที่เปลี่ยนแปลงจากเดิมก็มี

  • IsoSpeed สำหรับซับแรงสะเทือนช่วงหลังที่สามารถปรับระยะการให้ตัวได้ – นิ่มกว่าเดิม 14%
  • IsoSpeed บริเวณท่อคอ ลดแรงสะเทือนมากกว่าช่วงหน้าของเสือหมอบทั่วไป 10%
  • แฮนด์ที่มากับเทคโนโลยี IsoCore ซึ่ง Trek อ้างว่าซับแรงสะเทือนดีกว่าแฮนด์คาร์บอนทั่วไป 20%
  • มีให้เลือกทั้งเวอร์ชันดิสก์และริมเบรค, geometry มีแบบ endurance และ pro endurance
  • รองรับยางหน้ากว้างสูงสุด 32mm
  • น้ำหนักเบากว่า Doamane รุ่นแรก 100g
  • ราคา completed bike เริ่มต้นที่ประมาณ 170,000 บาทจนถึง 380,000 บาท

Trek Domane

4 ปีก่อน Trek เปิดตัวเฟรม Domane จักรยานเอนดูรานซ์คอนเซปต์ใหม่ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีลดแรงสะเทือนภายในเฟรมโดยไม่ต้องพึ่งระบบโช้คและเป็นจักรยานที่ประสบความสำเร็จในสนามแข่งจริงเมื่อเฟเบียน แคนเชอลาราใช้ Domane รุ่นแรกคว้าแชมป์สนามคลาสสิคทางวิบากชื่อดังอย่าง Tour of Flanders และ Paris-Roubaix ในปี 2013

เทคโนโลยีซับแรงสะเทือนดังกล่าวคือระบบ IsoSpeed พลิกการออกแบบจักรยานเสือหมอบโดยแยกเอาท่อนั่งและท่อนอนออกจากกัน ใช้กลไกคล้ายๆ แหวนบุชชิ่งเป็นตัวเชื่อมท่อทั้งสองส่วนโดยจะมีแผ่นยางกันกระแทกประกบอยู่ ทุกๆ ครั้งที่มีแรงสะเทือนจากด้านล่างของรถ ท่อนั่งก็จะให้ตัวไปด้านหลังได้อย่างอิสระช่วยลดแรงสะเทือนได้กว่าจักรยานทั่วไปถึง 40%

แต่ความสำเร็จของ​ Domane รุ่นแรกกลับสร้างปัญหาใหม่ให้ผู้ใช้นั่นคือฟีลลิ่งการปั่นที่หลายคนบ่นว่าด้านหลังนุ่มเกินกว่าช่วงหน้าของรถเกินไป Trek ได้รวบรวมข้อมูล ฟีดแบคการใช้งานจากผู้ใช้และนำมาเป็นฐานในการออกแบบเฟรม Domane SLR ใหม่ เพื่อพัฒนาระบบ IsoSpeed บริเวณช่วงหน้าของรถที่ถูกบรรจุไว้ในท่อคอ

 

Front IsoSpeed

แนวคิดการแยกส่วนท่อนั่งและท่อนอนด้วยระบบจุดหมุน (pivot) ถูกนำมาใช้กับท่อคอ (head tube) และซาง (steerer tube) นั่นคือซางสามารถให้ตัวในแนว หน้า-หลัง ได้อย่างอิสระ ไม่ยึดติดอยู่กับท่อคอเหมือนจักรยานทั่วๆ ไป

domane slr

การให้ตัวของซางนี้ Trek อ้างว่าลดแรงสะเทือนได้ร่วม 10% เมื่อเทียบกับ Domane 1.0 Trek ใช้วิธียึดจุดหมุนบริเวณยอดท่อคอทั้งสองข้าง เพื่อให้ซางขยับได้แค่แนว หน้า-หลัง ไม่ส่ายด้านข้างซึ่งจะมีผลเสียต่อการบังคับควบคุมและเข้าโค้ง และกดสปรินต์

 

Rear IsoSpeed

Domane 1.0 แยกท่อนั่งและท่อนอนออกจากกัน แต่ใน Domane SLR, Trek ใช้เทคโนโลยี  ISO Speed แบบเดียวกับ Trek Madone 9 ที่ใช้ท่อนั่งสองชิ้นเชื่อมกันด้วยระบบจุดหมุน pivot

โครงสร้างท่อนั่งชิ้นด้านนอกเชื่อมกับท่อนอนและกระโหลกตามปกติเพื่อโครงสร้างความแข็งแรงและความสติฟ ส่วนท่อนั่งด้านในสามารถให้ตัวได้อิสระเพื่อลดแรงสะเทือนจากพื้นถนน

Adjustable-Rear-IsoSpeed-detail

ใน Domane SLR ระบบ IsoSpeed จะต่างจาก Madone 9 เล็กน้อยตรงที่ผู้ใช้สามารถปรับระยะการให้ตัวของท่อนั่งได้ตามต้องการ (!) คล้ายๆ กับการทำงานของ carbon leaf spring พูดแล้วอาจจะงง ลองดูวิดีโอดีกว่า

Trek ใช้สไลเดอร์เล็กๆ เป็นตัวปรับระยะการให้ตัวของท่อนั่งชิ้นใน ตัวสไลเดอร์ขันล็อกโดยน็อตตัวล่างของที่ยึดขากระติก เมื่อคลายออก ผู้ใช้สามารถเลื่อนตัวสไลเดอร์ขึ้น-ลงได้ตามอิสระ ถ้าเลื่อนสไลเดอร์ขึ้นไปด้านบนของเฟรม ท่อนั่งก็จะให้ตัวได้น้อย ถ้าเลื่อนลงมาใกล้กระโหลก ระยะให้ตัวก็จะมากขึ้น

เมื่อเทียบกับ Domane 1.0 ที่จุดที่ให้ตัวได้มากที่สุด Trek อ้างว่าซับแรงสะเทือนได้ดีกว่าเดิม 14% แต่ที่จุดที่ให้ตัวได้น้อยที่สุดฟีลจะ “แน่น” กว่าเดิม 25%

 

ISOCore Handlebar

domane slr2

นอกจากตัวเฟรมที่มีระบบ IsoSpeed ทั้งหน้าและหลังแล้ว แฮนด์ของ Domane SLR ก็มีเทคโนโลยีช่วยซับแรงกระแทกด้วย Trek สอดแทรกยาง (rubber) ไว้ในตัวแฮนด์ระหว่างการทำ lay up หรือเรียงชั้นคาร์บอนในขั้นตอนการผลิต ซึ่งช่วยลดแรงสะท้านจากพื้นถนนได้ 20%

 

น้ำหนัก

ถึงจะมีเทคโนโลยี ISOSpeed แบบใหม่ทั้งบริเวณด้านหน้าและด้านหลังของเฟรม แต่ Trek ลดน้ำหนัก Domane SLR ได้ร่วม 100 กรัมเทียบกับ Domane รุ่นแรก เฟรมไซส์ 56cm ไม่ลงสี หนัก 950g และตะเกียบหนัก 330g ถ้าลงสีแล้วน้ำหนักจะเพิ่มอีกประมาณ 5-200g แล้วแต่ลวดลาย น้ำหนักเท่ากันทั้งเวอร์ชันดิสก์เบรคและริมเบรค

 

ดิสก์เบรค, direct mount ริมเบรค

Domane SLR มากับตัวเลือกเบรคสองรูปแบบ ดิสก์เบรค หรือริมเบรค direct mount สำหรับดิสก์เบรคใช้มาตรฐานการยึด Flat mount ของ Shimano และใช้แกนปลด thru-axles 12mm

Tire-Clearance-Direct-Brakes

สำหรับเฟรม Domane SLR Disc จะรองรับยางหน้ากว้างได้สูงสุดถึง 32mm เวอร์ชันริมเบรคใช้ได้สูงสุด 28mm เฟรมมีจุดให้ยึดบังโคลนด้วยเหมือนกับ Domane รุ่นแรก

 

Control Center

Control-Center

เช่นเดียวกับ Trek Madone 9, Trek ทำช่องเปิดปิดบริเวณด้านบนของท่อล่างเพื่อใช้เก็บชุด junction box ของชุดเกียร์ไฟฟ้า Di2/ Eps  หรือตัวปรับความตึงสายสับจานหน้าหากใช้เกียร์จักรกล

Option

Domane SLR มีมิติเฟรมให้เลือกสองแบบ

  • Endurance: ไซส์ 44-62cm มิติปกติ ท่อคอสูงและท่อนอนสั้นกว่า Madone และ Edomnda
  • Pro Endurance: ไซส์ 54-62cm  Geometry เดียวกับ Madone / Emonda H1 ท่อคอต่ำ น่อนอนยาว เข้าโค้งไว สไตล์รถแข่ง แต่ใช้ระยะฐานล้อ (wheelbase) และ BB Drop  เดียวกับ Domane SLR Endurance เพื่อความมั่นคงในการขับขี่
  • รถ Completed มีให้เลือก 5 รุ่น เป็นดิสก์เบรค 3 รุ่นและเบรคธรรมดา 2 รุ่น
  • เฟรมเซ็ตมีให้เลือกทั้งแบบดิสก์และเบรคธรรมดาเช่นกัน
  • มีรุ่นที่โปรใช้แข่งจริง Domane SLR Race Shop Limited ที่มากับมิติรถแบบ pro endurance และใช้คาร์บอน OCLV700 เกรดสูงสุดของ Trek
  • ใครที่อยากสั่งทำสีพิเศษผ่านโปรแกรม Project One สามารถเลือกมิติรถได้ทั้งสองแบบ

ราคา Completed bike (ต่างประเทศ, คิดจากอัตราแลกเปลี่ยน 4 เมษา 59)

  • Trek Domane SLR 6 (Shimano Ultegra, น้ำหนักt 7.46kg) ~ 175,000 บาท
  • Trek Domane SLR 6 Disc (Shimano Ultegra, 8.3kg) ~ 194,000 บาท
  • Trek Domane SLR 7 (Shimano Ultegra Di2, 7.49kg) ~ 210,000 บาท
  • Trek Domane SLR 7 Disc (Shimano Ultegra Di2, 8.3kg) ~ 230,000 บาท
  • Trek Domane SLR 9 eTap (SRAM Red eTap, 6.76kg) ~ 388,000 บาท
  • Trek Domane SLR frameset ~ 120,000 บาท
  • Trek Domane SLR Disc frameset ~ 128,000

 

First Ride Review (GCN)

พรีวิวต่างประเทศ: Cyclingweekly, Cyclingtips, Velonews, Bikeradar, Road.cc
Source: Trekbikes.com

By เทียนไท สังขพันธานนท์

คูน คือผู้ก่อตั้งดั๊กกิ้งไทเกอร์ และอยากใช้เว็บไซต์นี้ช่วยให้คนไทยอยากขี่จักรยานกันเยอะๆ!

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *