Watteam Powerbeat: พาวเวอร์มิเตอร์เต็มรูปแบบกับราคาเพียง 15,000 บาท!?

ถึงพาวเวอร์มิเตอร์หลายๆ รุ่นจะราคาตกลงมาบ้างแล้วแต่ก็ยังเป็นอุปกรณ์ที่ราคาสูงมากๆ อยู่ดีทำให้นักปั่นที่อยากจะฝึกซ้อมด้วยพาวเวอร์ต้องกุมขมับก่อนที่จะลงทุนเป็นจำนวนเงินหลายหมื่นบาท

ล่าสุดบริษัทน้องใหม่ Watteam ซึ่งเป็นทีมงานนักวิทยาศาสตร์และนักปั่นจากอิสราเอลและอเมริกา ต้องการจะเปลี่ยนแนวคิดที่ว่าพาวเวอร์มิเตอร์ต้องมีราคาแพง เปิดตัวพาวเวอร์มิเตอร์รุ่น Powerbeat พาวเวอร์มิเตอร์รุ่นใหม่ที่รองรับการใช้งานจักรยานทุกประเภทด้วยราคาเพียง 499 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 15,000 บาทเท่านั้น

watteam_powerbeat_diagram_lg01

หน้าตาของ Powerbeat จะต่างกับพาวเวอร์มิเตอร์คู่แข่งพอสมควร ตัว Unit มีเพียงแค่หน่วยประมวลผลและตัวส่งสัญญาณที่เชื่อมต่อกับ strain guage ซึ่งโยงผ่านสายไปติดกับขาจาน หนึ่งชุดมี 2 unit ซ้ายและขวา ทำให้สามารถวัดพลังแยกได้ทั้งขาซ้ายและขาขวาพร้อมๆ กัน

ตัวส่งสัญญาณและประมวลผลรองรับระบบการเชื่อมต่อทั้ง ANT+, Bluetooth LE และอัดแน่นไปด้วยเซนเซอร์หลายประเภททั้ง gyrometer, accelrometers ช่วยวัดรอบขาได้ด้วย

WATTEAM_PowerBeat_sensor1

บอดี้กันน้ำและฝุ่น แบตเตอรีที่ใช้ก็เป็นแบบ 3.6 โวลต์ ใช้งานได้ 360 ชั่วโมงและผู้ใช้เปลี่ยนเองได้

ฟีเจอร์ที่เด่นที่สุดคงเป็นความยืดหยุ่นในการใช้งานที่สามารถนำไปใช้ได้กับขาจานทุกประเภทไม่เกี่ยงยี่ห้อ ทั้งขาจานคาร์บอนและอลูมินัม และน้ำหนักที่เบากว่าพาวเวอร์มิเตอร์คู่แข่งทุกยี่ห้อ

ส่วนใครที่เป็นห่วงเรื่องการปรับจูน Calibrate ความแม่นยำนั้นทีมงานบอกว่าเซ็ตอัปได้ง่ายแต่ตอนนี้กำลังเร่งทำซอฟต์แวร์ ในอนาคตก็จะมีซอฟต์แวร์สำหรับสมาร์ทโฟนเพื่อใช้อ่านค่าต่างๆ และปรับตั้งด้วย

Watteam จะเปิดตัว Powerbeat อย่างเป็นทางในงาน Interbike เดือนกันยายนนี้ และยังไม่มีกำหนดวางจำหน่าย

WATTEAM_PowerBeat_device

DT Comment: ก็ต้องดูกันว่าจะทำงานได้แม่นยำและใช้งานได้ง่ายจริงอย่างที่โฆษณาไว้หรือเปล่า ดูเหมือนว่า Watteam จะแก้ปัญหาที่ Stages (ผู้ผลิตพาวเวอร์มิเตอร์ที่เป็นสปอนเซอร์ให้ทีม Sky) ยังแก้ไม่ได้นั่นก็คือทำพาวเวอร์มิเตอร์ที่ใช้กับขาจานคาร์บอน ปัญหาคือค่าความเครียด (stress/strain) ในขาจานคาร์บอนแต่ละตัวนั้นไม่มีความคงที่เหมือนอลูมินัมเพราะมันขึ้นอยู่กับกระบวนการพันคาร์บอนแต่ละชิ้นซึ่งหาความคงที่ได้ยาก ทำให้ strain guage ที่ใช้วัด deflection วัดข้อมูลได้ไม่แม่นยำ ส่งผลให้ค่าพาวเวอร์ที่วัดนั้นก็เพี้ยนไปด้วย

อีกปัญหาก็คือการเซ็ตอัปตัว strain guage ของผู้ใช้ ปกติบริษัทพาวเวอร์มิเตอร์แทบทุกบริษัทจะเป็นคนติดตั้งตัว strain guage มาให้ (ขายมาเป็นชุดทีเดียวเลย เช่น SRM, Power2Max, Rotor, Stages) เพราะการปรับจูน Calibration ให้แม่นยำไม่ใช่เรื่องง่ายที่ผู้ใช้สามารถทำได้เอง

Watteam.com

By เทียนไท สังขพันธานนท์

คูน คือผู้ก่อตั้งดั๊กกิ้งไทเกอร์ และอยากใช้เว็บไซต์นี้ช่วยให้คนไทยอยากขี่จักรยานกันเยอะๆ!

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *