มีอะไรใหม่ใน Specialized S-Works Tarmac SL6

Specialized เปิดตัวจักรยานเสือหมอบ Tarmac เจเนอเรชันที่หกเมื่อวันที่ 1 กรกฏาคมที่ผ่านมานี้ในชื่อ Tarmac SL6 – DT คิดว่าเป็นจักรยานที่น่าสนใจทีเดียวครับ Tarmac เป็นรถแข่งสไตล์ all rounder ที่เปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2009 และนักปั่นอาชีพใช้มันคว้าแชมป์มากว่า 200 รายการ

Specialized เป็นผู้ผลิตจักรยานที่สนับสนุนทีมนักปั่นอาชีพเยอะเป็นอันดับหัวแถวของโลก และโจทย์การใช้งานนั้นก็ต้องทำมาเพื่อตอบสนองการแข่งขันของโปรในระดับสูงสุด Specialized กล่าวว่าพลวัตรการแข่งขันในช่วง 5 ปีที่ผ่านมานี้เปลี่ยนไปมาก และความต้องการอุปกรณ์ของนักปั่นก็ต้องปรับตามด้วย นั่นคือต้องเป็นจักรยานที่ลู่ลมประหยัดแรงและน้ำหนักเบา พร้อมกับควบคุมได้ง่าย ตอบสนองฉับไว ขณะเดียวกันมันก็ต้องตอบโจทย์การใช้งานของคนทั่วไป ทั้งชายและหญิง ทั้งหมดนี้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงแพลตฟอร์ม Tarmac ใหม่หมด

Tarmac SL6 จะออกมาแทน SL5 และสำหรับฝั่งหญิงก็จะมาแทนเฟรม Amira (ที่พัฒนามาจาก Tarmac SL4) ทั้งชายและหญิงจะใช้มิติรถ (Geometry) เดียวกัน ไม่แยกเพศอีกต่อไป ต่างกันตรงที่ completed bike ของผู้หญิงจะใช้อะไหล่ที่เหมาะสมกับผู้หญิงมากกว่า เช่นขาจานสั้น เบาะกว้าง แฮนด์ที่แคบกว่าเป็นต้น

 

ลดน้ำหนักแต่ต้องลู่ลม

Specialized อ้างว่า เฟรม SL6 เป็น Tarmac ที่เบาที่สุดและแอโรที่สุดที่เคยผลิตมา นักปั่นอาชีพหลายคนบ่นว่า Tarmac SL5 นั้นน้ำหนักเยอะเมื่อเทียบกับรถไต่เขาของแบรนด์คู่แข่ง SL6 ลดน้ำหนักเฟรมเหลือ 733 กรัมในไซส์ 56cm และตะเกียบหนัก 325 กรัม Completed bike ที่มากับชุดเกียร์ Shimano Dura-Ace Di2 จะหนักแค่ 6.48 กิโลกรัมเท่านั้น เวอร์ชันดิสก์เบรคก็จะหนักแค่ 6.56 กิโลกรัม

ถ้าใครอยากได้ completed bike รุ่นเบา Specialized ผลิตรุ่น Tarmac S-Works SL6 Ultralight ซึ่งใช้สีที่หนักแค่ 10 กรัม มากับเบรค EE และล้อ Roval CLX32 รวมน้ำหนักทั้งคัน 6.2 กิโลกรัม

แล้วทำยังไงเฟรมรุ่นใหม่ถึงเบากว่ารุ่นก่อนร่วม 200 กรัม? Specialized ปรับปรุงหลายจุดครับ

เริ่มต้นที่คาร์บอนเลย์อัปหรือการวางเรียงชิ้นคาร์บอนในตังเฟรม Specialzied เพิ่มชิ้นเลย์อัปจาก 350 เป็น 500 ชิ้น ทำให้สามารถเรียงชิ้นคาร์บอนได้โดยไม่ต้องซ้อนกัน ช่วยลดน้ำหนักได้หลายจุดเช่นที่กระโหลกน้ำหนักหายไป 30 กรัม

การเดินสายเกียร์/เบรค เปลี่ยนเป็นการเดินสายในเฟรมทั้งหมด ปรับดรอปเอาท์ตีนผีน้ำหนักเบาลงขนาดกระชับกว่าเดิมแต่แข็งแรงกว่าเดิมให้ทนกำลังการเปลี่ยนเกียร์ของมอเตอร์ในชุดเกียร์ไฟฟ้า

 

Aerodynamic

ในส่วนแอโรไดนามิกนั้น Specialized ใช้บทเรียนจากการออกแบบ Venge VIAS ซึ่งก็ทำให้ได้หน้าตาที่ออกมาดูเป็นรถแอโรมากกว่าเสือหมอบที่เน้น stiffness to weight หลายๆ คัน

เริ่มจากซีทสเตย์ทรงใบมีดที่ลงไปยึดกับช่วงกลางท่อนั่งแทนที่จะยึดกับจุดรัดหลักอานเหมือนในรุ่นก่อนๆ ข้อดีคือช่วยหลบลมและทำให้ท่อนั่ง/ หลักอานให้ตัวได้มากขึ้น รองรับเบรคแบบ direct mount ด้วย ส่วนช่วงหน้ารถนั้นปรับตะเกียบเป็นทรงแอโร

ท่อนั่งและท่อนอนปรับเป็นทรง D-Shape ลู่ลมกว่าท่อกลมที่ใช้ใน SL5

Specialized อ้างว่า Tarmac SL6 นั้นแอโรกว่าเสือหมอบ all rounder คู่แข่งพอสมควร คิดเป็นตัวเลขออกมาแล้ว ที่ความเร็วเท่ากันในระยะทาง 45 กิโลเมตร SL6 จะไปได้เร็วกว่าเฟรมคู่แข่ง 45 วินาที และถ้าเทียบกับเสือหมอบแอโรที่ไปได้เร็วกว่า เฟรม Tarmac ก็จะเบากว่าอย่างน้อย 180-200 กรัม

 

Handling ต้องกระชับ

Specialized เปิดตัว Tarmac SL5 ในปี 2014 กับแนวคิด Rider-First Engineering หรือการผลิตจักรยานให้ฟีลลิ่งการปั่นเหมาะกับไซส์จักรยานที่ผู้ปั่นเลือก ในกระบวนการผลิตจักรยานโดยทั่วไป บริษัทผู้ผลิตมักทำจักรยานต้นแบบในขนาด “กลาง”​ เช่นไซส์ 56 ซึ่งใช้เป็นมาตรฐานด้าน performance ก่อนจะสเกลขึ้นหรือลงในไซส์อื่นๆ กระบวนการนี้ช่วยให้ผลิตจักรยานในปริมาณมากได้ถูกเพราะ ใช้ layup แบบเดียวกันหมดทุกไซส์ หรือใช้ขนาดท่อและความหนาใกล้ๆ กัน ไม่ต้องคิดออกแบบเรื่องการตอบสนองของเฟรมใหม่ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ เมื่อใช้ไซส์ขนาดกลางเป็น baseline ไซส์อื่นๆ อาจจะให้ความรู้สึกสติฟไปหรือย้วยไป และ handling ก็ทำได้ไม่ดีเท่าไซส์มาตรฐาน

ที่ผ่านมาหลายบริษัทจึงเริ่มหันมาออกแบบจักรยานเน้นประสิทธิภาพแต่ละไซส์ให้ได้มาตรฐานเท่ากันหมด อย่างในเฟรม SL5 Specialized เลือกทำลูกปืนถ้วยคอเทเปอร์ที่มีขนาดต่างกัน 3 ไซส์เพื่อให้ค่าสติฟเนสนั้นใกล้เคียงกันระหว่างแต่ละไซส์

ในเฟรมที่ไซส์ใหญ่ขึ้น ระยะ fork rake ก็จะสั้นลงแต่เพิ่มความกว้างและความลึกของแท่งตะเกียบ ซึ่ง Specialzied เชื่อว่าการปรับจูนตะเกียบให้เข้ากับการใช้งานของนักปั่นในแต่ละไซส์จะช่วยให้ได้ฟีลลิ่งการปั่นที่สมูทกว่า และช่วยเรื่องแอโดนามิกจากตะเกียบที่ลึกกว่าด้วย

ในด้านความสบาย Specialized ไม่ได้ใช้ส่วนผสมพิเศษแทรกไว้ในตัว layup เหมือนบางแบรนด์ แต่ปรับตามความเหมาะสมของการใช้งาน เช่นบริเวณด้านล่างท่อนั่งที่ใกล้กระโหลกจะใช้เลย์อัปที่ทำให้รถสติฟตอบสนองแรงได้ดี ในขณะที่ด้านบนที่เชื่อมกับหลักอานจะให้ตัวได้เยอะเพื่อลดแรงสะท้านจากพื้นถนน

 

Geometry ใหม่

ในการออกแบบ SL6 Specialized เลิกการแยกจักรยานำสำหรับชายหรือหญิงที่ใช้ geometry ต่างกัน (ไม่ทำไลน์ Amira ต่อแต่ยุบรวมเป็น SL6 สำหรับทั้งชายและหญิง – Amira รุ่นเก่ายังมีจำหน่าย) โดยบริษัทอ้างว่า จากการสำรวจข้อมูลการฟิตติ้งของนักปั่นนับหมื่นคน (จากข้อมูลของบริษัท Retul ที่ Specialized ซื้อกิจการ) พบว่านักปั่นชายและหญิงสามารถใช้องศามิติรถแบบเดียวกันได้ ไม่เกี่ยวกับเพศ​ เช่นนั้นแล้วสิ่งที่ต่างระหว่าง SL6 ชายและหญิงคืออะไหล่ที่ให้มา เช่นในรถผู้หญิงก็จะให้เบาะที่กว้างกว่า แฮนด์ที่แคบกว่า ขาจานสั้นกว่า และสีเฟรมที่ต่างกันไป

โดยรวมแล้วสิ่งที่ต่างไปจาก geometry SL5 เดิมคือท่อคอสูงขึ้นเล็กน้อยและท่อนอนสั้นลง stack/reach และองศาท่อคอก็ปรับให้เข้ากับแนวคิดฟิตติ้งแบบใหม่นี้

 

SL5 VS Sl6

ทั้งนี้เฟรม SL5 ก็ไม่ได้หายไปไหน Specialized ยังคงจำหน่าย SL5 ในกรุ๊ปเซ็ตและอะไหล่รุ่นล่าสุดคู่กับ SL6

 

พาวเวอร์มิเตอร์จาก Specialized

เรื่องที่ไม่มีใครรู้มาก่อนคือ Specialized จะวางจำหน่ายพาวเวอร์มิเตอร์ของตัวเองด้วย ซึ่งจะเป็นพาวเวอร์มิเตอร์แบบติดขาจานสองข้าง (Dual sided) กับสเป็คที่ specialized อ้างว่าความแม่นยำ +/-1% (static) / +/- 1.6% (real-world) กับน้ำหนักเพียง 440 กรัมรวมขาจานความยาว 172.5mm

ใช้แบตเตอรี่ขนาดเล็กสองก้อนติดตั้งในตัวยูนิท มีฝาครอบกันน้ำและฝุ่นเข้า และผู้ใช้ถอดเปลี่ยนได้เอง

ขาจานที่มาด้วยเป็นคาร์บอนไฟเบอร์ซึ่ง Specialzied เคลมว่ามีความแม่นยำในการใช้งานกับสภาพอากาศหลากรายรูปแบบกว่าขาจานอลูมิเนียม

อนาคต Specialized มีแพลนจะออกเวอร์ชันวัดพลังจากขาข้างเดียวที่ราคาประหยัดกว่าด้วย

 

ราคา/ สเป็ค

via GIPHY

นอกจากเฟรมเซ็ตในสีต่างๆ แล้ว Specialized SL6 จะมาทั้งในไลน์ S-Works ที่ใช้คาร์บอน FACT12r น้ำหนักเบา และเวอร์ชัน Tarmac Pro ใช้คาร์บอน FACT10r ที่หนักกว่าแต่ราคาประหยัดกว่า

Tarmac SL6 แบบ completed bike มีให้เลือก 6 รุ่น

Specialized Men’s S-Works Tarmac Ultralight
Shimano Dura-Ace Di2 9150, Roval CLX 32 wheels
£9,500 (ประมาณ​ 420,000 บาท)

Specialized Men’s S-Works Tarmac
Shimano Dura-Ace Di2 9150, Roval CLX 50 wheels
£9,000 (ประมาณ 400,000 บาท)

Specialized Men’s Tarmac Pro
Shimano Ultegra Di2 8150, Roval CL 50 wheels
£5,750 (ประมาณ​ 250,000 บาท)

Specialized Men’s Tarmac Expert
Shimano Ultegra 8000, Roval SLX 24 wheels
£3,500 (ประมาณ 154,000 บาท)

Specialized Women’s S-Works Tarmac
Shimano Dura-Ace Di2 9150, Roval CLX 50 wheels
£9,000 (ประมาณ 400,000 บาท)

Specialized Women’s Expert – £3,500
Shimano Ultegra 8000, Roval SLX 24 wheels
£3,500 (ประมาณ 154,000 บาท)

Frameset S-Works Sl6
£3,250 (ประมาณ 140,000 บาท)

Frameset S-Works Sl6 Ultralight
£3,250 (ประมาณ 150,000 บาท)

ราคาไทยที่แน่นอนต้องรอตัวแทนจำหน่าย

 

Gallery

[smartslider3 slider=3]

Via: Specialized.com

 

By เทียนไท สังขพันธานนท์

คูน คือผู้ก่อตั้งดั๊กกิ้งไทเกอร์ และอยากใช้เว็บไซต์นี้ช่วยให้คนไทยอยากขี่จักรยานกันเยอะๆ!

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *